ชื่อสมุนไพร : มะเกลือ
ชื่ออื่น ๆ : มะเกีย, มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), ผีผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มักเกลือ, หมักเกลือ, มะเกลือ (ตราด), เกลือ (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Ebony tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :
- ต้นมะเกลือ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกนอกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว
- ใบมะเกลือ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนหรือกลม ส่วนปลายใบสอบ ใบแก่เกลี้ยง ก้านใบยาว 5-10 มม. เมื่อแห้งเป็นสีดำ
- ดอกมะเกลือ ต่างเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งๆ มีประมาณ 3 ดอก ดอกย่อย กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกยาว 6-8 ซม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรผู้ 14-24 อัน ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว 1-3 มม. มีขนนุ่มปกคลุม เกสรผู้เทียม 8-10 อัน
- ผลมะเกลือ ผลกลม เกลี้ยง ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วผล 4 กลีบ ผลแก่จัดสีดำ เมื่อแห้งเปลือกเปราะ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, เปลือกลำต้น, แก่น, ราก, ผล
สรรพคุณ มะเกลือ :
- ลำต้น นำมาใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย แก้กระษัย ถ่ายพยาธิไส้เดือน
- เปลือกลำต้น ใช้ปรุงเป็นยาแก้เบื่ออาหาร ขับเสมหะ แก้ตานซาง แก้โรคกระษัย แก้พิษ และถ่ายพยาธิ เป็นต้น
- แก่น (แก่นกลางไม้ เป็นสีดำ) ใช้ปรุงเป็นยาแก้ลม แก้ฝีในท้อง แก้ซางตานขโมย และแก้กระษัยกล่อน
- ราก ใช้รากสด นำมาฝนกับน้ำซาวข้าวรับประทาน แก้ลม แก้อาเจียน
- ผล เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวตืด เส้นด้าย ปากขอ เป็นยาแก้กระษัยจุก แก้ตานซาง
ข้อห้ามใช้ :
- ห้ามใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี
- ห้ามใช้กับสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือสตรีที่คลอดใหม่ และคนไข้ที่เป็นโรคอื่น
- ควรระวังอย่าใช้ในปริมาณเกินขนาด
- คนไข้บางคนอาจเกิดอาการแพ้ ซึ่งจะมีอาการท้องเดิน หรือตามัว ถ้ารุนแรงอาจทำให้ตาบอด ถ้ามีอาการดังนี้ควรนำส่งแพทย์ทันที
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป[/su_spoiler]
[su_spoiler title=”สารที่พบ” icon=”arrow”]สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย[/su_spoiler]