มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

ชื่อสมุนไพร : มะกล่ำตาช้าง
ชื่ออื่นๆ
 : มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น(กลาง), มะโหกแดง(ภาคเหนือ), มะหัวแดง, มะแดง, มะก้ำต้น, มะกล่ำตาช้าง, ไฟ(ใต้), ปี้จั่น
ชื่อสามัญ : Red Wood, Coral Woood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.
ชื่อวงศ์ : Mimosaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ค้นมะกล่ำตาช้าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง ต้นทรงโปร่ง เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในนุ่มสีครีมอ่อน
  • ใบมะกล่ำตาช้าง เป็นประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่  เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน มี 8-16 คู่ เรียงสลับ กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 2-5.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม เรียบเกลี้ยง แกนกลางใบประกอบยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านใบย่อยไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ฐานไม่สมมาตร ก้านใบสั้น ด้านหลังใบเกลี้ยงสีเขียวอมเทา ท้องใบสีอ่อนกว่ามีนวลเล็กน้อย มีขนนุ่ม ก้านใบหลัก หูใบเล็กมาก หลุดร่วงง่าย
  • ดอกมะกล่ำตาช้าง เป็นช่อ ช่อดอกแคบยาวรูปทรงกระบอก ดอกออกตามซอกใบบนๆ หรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7.5-20 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกขนาด 0.3 ซม. กลีบดอกสีเหลืองอ่อนอมครีม ดอกแก่เปลี่ยนเป็นสีส้ม มีขนประปราย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆในตอนเย็น คล้ายกลิ่นดอกส้ม ออกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาด 2.5-3 มม. เชื่อมกันที่ฐานเป็นหลอด กลีบแคบ ปลายแหลม ก้านดอกสั้นทรงแคบ ส่วนปลายเป็นถ้วยตื้นแยกเป็น 5 กลีบ ก้านดอกยาว 1.5-3 มิลลิเมตร มีขนคล้ายไหม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรตัวผู้มี 10 อัน อับเรณูมีต่อมที่ปลาย
  • ผลมะกล่ำตาช้าง เป็นฝัก รูปแถบ แบนยาว กว้าง 8-12 มิลลิเมตร ยาว 15-30 ซม. สีเขียว เมื่อฝักแก่จะแตกมะกล่ำตาช้างสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียวแน่นเพื่อกระจายเมล็ด มีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน เมล็ดมะกล่ำตาช้าง รูปร่างค่อนข้างกลม แข็ง สีแดงเลือดนกหรือแดงส้ม ผิวมัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 มม. เมล็ดติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน 10-15 เมล็ดต่อฝัก

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เมล็ด, ใบ, เนื้อไม้

สรรพคุณ มะกล่ำตาช้าง :

  • ใบ รสฝาดเฝื่อน ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด
  • เมล็ดและใบ รสเฝื่อนเมา แก้ริดสีดวงทวาร
  • เมล็ด รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
  • เมล็ดใน  รสเมาเบื่อ บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย
  • เมล็ด  คั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด
  • เนื้อไม้ รสเฝื่อน ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน
  • ราก  รสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี
Scroll to top