พรมตีนสูง

พรมตีนสูง

ชื่อสมุนไพร : พรมตีนสูง
ชื่ออื่นๆ
: โหรา(ชุมพร), พรมตีนสูง(ตรัง),ว่านขันหมากเศรษฐี, โหรา(ตราด, ชุมพร), ว่านงดหิน(ตรัง), ว่านขัดหมาก(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Aglaonema simplex (Blume) Blume
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพรมตีนสูง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และสูงประมาณ 35-40 เซนติเมตร
    พรมตีนสูง
  • ใบพรมตีนสูง เป็นใบเดี่ยวลักษณะเป็นรูปไข่แกมรี ตรงปลายใบแหลมและโคนใบแหลมกลม ใบจะมีความพรมตีนสูงกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-1.5 เซนติเมตร ก้านใบกลมและยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนโคนใบจะแผ่แบน และโอบหุ้มลำต้นไว้

 

 

  • ดอกพรมตีนสูง ออกดอกเป็นช่อตรงยอดหรือตรงด้านข้าง และมีกาบหุ้มช่อดอกลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร มีจุดเล็ก ๆ สีขาว ลักษณะช่อดอกเป็นแท่งกลมยาว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ และดอกเพศเมียซึ่งจะมีน้อยกว่าดอกเพศผู้
  • ผลพรมตีนสูง จะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 12-18 มิลลิเมตร ตรงปลายจะแหลม
    พรมตีนสูง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ผล

สรรพคุณ พรมตีนสูง :

  • ผล เป็นอายุวัฒนะ ทำให้อายุยืน ช่วยชะลอความแก่ เป็นยาบำรุงร่างกาย มีกำลังวังชาแข็งแรง ว่องไว ไม่เหนื่อยง่าย แก้อาการอ่อนเพลีย โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่จะมีอาการดีขึ้น
  • ทั้งต้น เป็นยาระบาย ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำหนัดในเพศชาย ช่วยเพิ่มพละกำลังทางเพศ

วิธีใช้ : ให้ใช้ลำต้น ราก ใบ และเมล็ด ไปสตุหรือทำให้ฤทธิ์ยาอ่อนลงก่อน แล้วจึงนำไปผึ่งให้แห้งประมาณ 4-5 วัน หรือนำไปย่างกับไฟให้น้ำยางออกมาเสียก่อน แล้วจึงนำไปต้มกิน ส่วนผลสดห้ามเคี้ยวรับประทาน แต่ให้รับประทานโดยการกลืน หรือจะใช้ผลดิบนำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงอัดเป็นเม็ดแคปซูลรับประทานก็ได้

ข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานผลโดยการเคี้ยวเมล็ดโดยเด็ดขาด เนื่องจากผลสดมีรสขื่นคัน มียางทำให้ปากคัน ลิ้นช้า และเกิดอาการบวมพองได้ แต่สามารถกลืนลงไปในท้องได้เลย

Scroll to top