ข่อย
ชื่ออื่นๆ กักไม้ฝอย (เหนือ), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย), ส้มฝ่า, ส้มพ่อ (หนองคาย), สะนาย (เขมร)
ส่วนที่ใช้ กิ่งสด
ขนาด ยาว 5 – 6 ฟุต
วิธีใช้ เอากิ่งข่อยสดหั่น ต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้าเย็นจะช่วยทำให้ฟันทน และไม่ปวดฟัน พวกแขกนิยมใช้กิ่งข่อยขนาดเล็เท่านิ้วก้อยทุบๆ แล้วแปรงฟัน ทำให้ฟันแข็งแรง และไม่ผุ
สีทนคนทา
ชื่ออื่นๆ กะลันทา, สีฟัน, สีฟันคนตาย, คนทา (กลาง), จี้, จี้หนาม, หนามจี้, สีเตาะ (เหนือ), หนามกะแท่ง (เลย), มีชี (กะเกรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ กิ่งสด
ขนาด กิ่งยาวประมาณ 5 – 6 นิ้วฟุต 1 กิ่ง
วิธีใช้ นำกิ่งสดมาสับ ต้มเคี่ยวกับน้ำให้เหลือเพียงครึ่งเดียว เติมเกลือลงไปใช้นำอม 1 – 2ครั้ง เป็นประจำ จะทำให้ฟันทนไม่เป็นโรคฟัน พระและคนชนบทบางท้องถิ่นใช้ก้านกิ่งขนาดเท่านิ้วก้อยทุบๆ แล้วใช้แปรงฟันเช่นกิ่งข่อย จะทำให้ฟันทน
มะพลับ
ชื่ออื่นๆ –
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ สับเปลือกต้นมะพลับ รวมกับเปลือกข่อย 1 กำมือ เกลือ 3 ช้อนชาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว อมเช้าเย็น อมเป็นประจำฟันจะทน