สมุนไพรรักษาน้ำกัดเท้า

สีเสียดแขก

ชื่ออื่นๆ                 สีเสียดเทศ

ส่วนที่ใช้               น้ำยางแห้งที่สกัดจากใบและกิ่งของต้นสีเสียดแขก

ขนาด                     1 ก้อนขนาดหัวแม่มือ

วิธีใช้                      เอาฝนกับน้ำให้ข้นๆ แล้วทาบริเวณที่น้ำกัด (ก่อนทาควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง) วันละ 2 – 3 ครั้ง


สีเสียดลาว

ชื่ออื่นๆ                 สีเสียดเหนือ, สีเสียดไทย, สีเสียด, สีเสียดแก่น (ราชบุรี), สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่), สะเจ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ยางที่สกัดได้จากแก่นของต้นสีเสียด

ขนาด                     1 ก้อนขนาดหัวแม่มือ

วิธีใช้                      เช่นเดียวกับสีเสียดแขก


ฝาง

ชื่ออื่นๆ                 ง้าย (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (กลาง), หนามโค้ง (แพร่), โซบั๊ก (จีน)

ส่วนที่ใช้               แก่น

ขนาด                     2 ชิ้น

วิธีใช้                      ฝนแก่นฝางกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า ในแก่นฝางมีตัวยาฝาดสมานและฆ่าเชื้อได้ด้วย


หมาก

ชื่ออื่นๆ                 เค็ด, พลา, สะลา (เขมร), เซียด (นครราชสีมา), แซ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน),

บีแน (มาเลย์), มะ (ตราด), สีซะ (กะเหรี่ยงเหนือ), หมากเมีย (กลาง), หมากมู้ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ผลที่ยังไม่สุกที่เรียกหมากดิบ

ขนาด                     ครึ่งผล

วิธีใช้                      แกะเอาเนื้อในมาผ่า 3 ส่วน เอาไปปิ้งไฟให้ร้อน แล้วนำไปว่างตรงบริเวณที่น้ำกัดเท้า พอชิ้นหมากเย็นนำไปปิ้งไฟอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 4 -5 หนต่อหนึ่งครั้ง ทำติดต่อกัน 2 – 3 วัน บริเวณที่น้ำกัดเท้าจะค่อยยังชั่วขึ้น


มังคุด

ชื่ออื่นๆ                 แมงคุด (ไทย), เมงค็อพ (พม่า)

ส่วนที่ใช้               เปลือกผลสดหรือแห้ง

ขนาด                     ½ ผล หรือ 1 ผล (แล้วแต่ขนาดของแผล)

วิธีใช้                      เปลือกผลฝนกับน้ำปูนใส ให้ข้นๆ พอควร ทาแผลที่เป็นวันละ 2 – 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย


ข้อควรระวัง          ก่อนจะใช้ยาทาบริเวณที่น้ำกัดเท้าควรที่จะล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ถ้ามีแอลกอฮอล์เช็ดแผล ควรเช็ดก่อนทายา

Scroll to top