สมุนไพรระบาย ยาถ่าย

สมุนไพรพวกนี้ ถ้ารับประทานน้อยเป็นยาระบาย ถ้ามากเป็นยาถ่าย ขนาดจะเพิ่มหรือลดเล็กน้อยได้เเล้วแต่คนธาตุหนักธาตุเบา ผู้ใหญ่และเด็ก

ชุมเห็ดเทศ

ชื่ออื่นๆ                 ชุมเห็ดใหญ่, ชุมเห็ด (ไทย), ลับมื่นหลวง, ขี้คาด, หมากกะลิงเทศ (พายัพ)

ส่วนที่ใช่               ดอกสด ใบสด เมล็ดแห้ง

ขนาด                     1 – 3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนธาตุหนักธาตุเบา ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ใบ 8–10 ใบ

วิธีใช้                      ช่อดอกต้มจิ้มน้ำพริก ถ้าเป็นใบต้องปิ้งไฟใฟ้เหลืองหั่นต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วเติมเกลือเล็กน้อย รับประทานให้หมด เมล็ดคั่วให้เหลืองใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาระบายอ่อนๆ


มะขามแขก

ชื่ออื่นๆ                 –

ส่วนที่ใช้               ใบ ฝัก

ขนาด                     ใบหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ ฝัก 10 – 15 ฝัก

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบความเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว ต้มกับน้ำใส่กระวาน หรืออบเชยลงไปเล็กน้อย แต่งรส และเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง

หมายเหตุ              บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง การรับประทานใบจะไซ้ท้องมากกว่าฝัก

มะขามแขก เหมาะกับผู้สูงอายุที่ท้องผูกประจำ (ท้องผูกชนิดเป็นพรรดึก)


สมอไทย

ชื่ออื่นๆ                 มะนะ, มานะ (พายัพ), มาแน่ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่), หมากแน่ะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), สมออัพยา (ไทยโบราณ)

ส่วนที่ใช้               ผลอ่อน

ขนาด                     5 – 6 ผล หรือ 30 กรัม

วิธีใช้                      ผลอ่อนต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว จะถ่ายหลังให้ยาประมาณ 2 ชั่วโมง (ผลแก่เป็นฝาดสมาน)

หมายเหตุ              ผลแก่เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน


สมอพิเภก

ชื่ออื่นๆ                 สมอแหน (ไทย), แหน, แหนขาว, แหนต้น (พายัพ), ลัน (เชียงราย), ซิปะดู้ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               ผลโตแต่ยังไม่แก่

ขนาด                     2 – 3 ผล

วิธีใช้                      ผลต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว


คูณ

ชื่ออื่นๆ                 ลมแล้ง (พายัพ), ชัยพฤกษ์ (ไทย), กุเพยะ (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), ราชพฤกษ์ (ใต้), ลักเกลือลักเคย (ปัตตานี)

ส่วนที่ใช้               เนื้อในฝัก (ผล)

ขนาด                     เนื้อใน 4 กรัม (หรือ 1 – 2  ฝัก)

วิธีใช้                      แกะเนื้อในต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว


มะกา

ชื่ออื่นๆ                 กอง (เหนือ), ก้องแกบ (เชียงใหม่), กาลิเนีย (อินเดีย), ส่าเหล้า (แม่ฮ่องสอน),

มาดกา (หนองคาย), สิวาลา ส่าเหล้า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ใบเพสลาด

ขนาด                     1 กำมือ (ประมาณ 10 – 15 ใบ)

วิธีใช้                      ใช้ใบเพสลาดปิ้งไฟ หรือตากแห้ง ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ควรรับประทานตอนเช้าเมื่อตื่นนอนหรือก่อนอาหาร หรือรับประทานตอนก่อนนอน


ขี้เหล็ก 

ชื่ออื่นๆ                 ขี้เหล้กใหญ่ (ไทย), ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กกินดอก (พายัพ), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กเผือก (เชียงใหม่),

ส่วนที่ใช้               ใบอ่อน, แก่น

ขนาด                     ใบ 2 – 3 กำมือ

แก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3 – 4 ชิ้น

วิธีใช้                      ใช้ใบอ่อนหรือแก่น ตมกับน้ำ 1 ถึง 1 ½ ถ้วยครึ่ง เติมเกลือเล็กน้อย รับประทานเมื่อตื่นตอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว


ชุมเห็ดไทย

ชื่ออื่นๆ                 ชุดเห็ดเขาควาย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ไทย), พรมดาน (สุโขทัย),

เล็บมื่น, เล็บมื่นน้อย (พายัพ – อีสาน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้น, ใบ, เมล็ด

ขนาด                     ใบ หรือทั้งต้น ใช้ประมาณ 1 กำมือ 15 – 30 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5 – 10 กรัม

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย     รับประทานตอนเช้าก่อนอาหาร เมล็ดคั่วให้เหลืองใช้ชงเป็นน้ำชาดื่มระบายอ่อนๆ


ตองแตก

ชื่ออื่นๆ                 ทนดี, ถ่อนดี (ไทย), เปล้าตองแตก (พายัพ), น้องป้อมลอง, ปอม (เลย),

ยามูเวอร์ (เงี้ยว)

ส่วนที่ใช้               ใบ เมล็ด ราก

ขนาด                     ใบ  2 – 4 ใบ ราก 1 หยิบมือ ส่วนเมล็ดทำให้ถ่ายมาก ไม่นิยมใช้

วิธีใช้                      ยาไทยนิยมใช้ราก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย รับประทาน


แสมสาร

ชื่ออื่นๆ                 ขี้เหล็ดโคก, ขี้เหล็กเเพะ, ขี้เหล็กป่า, ขี้เหล็กสาร (ปราจีนบุรี), กะบัด, กราบัด (โคราช), ไงซาน (เขมร- สุรินทร์)

ส่วนที่ใช้               ใบ เปลือก แก่น

ขนาด                     ใบ หรือเปลือก 1 กำมือ แก่น 7 – 8 ชิ้น

วิธีใช้                      ใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว


มะละกอ

ชื่ออื่นๆ                 ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (เหนือ), มะเต๊ะ (ปัตตานี), ลอกอ (มลายู), สะกุยเส่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หมักหุ่ง (เลย – นครพนม), หมากซางพอ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), มะหุ่ง (ลานช้าง), มากอี (สนามแจง)

ส่วนที่ใช้               ผลสุก

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ช่วยระบาย


แมงลัก

ชื่ออื่นๆ                 ก้อมก้อขาว (เหนือ), มังลัก (กลาง)

ส่วนที่ใช้               เมล็ด

ขนาด                     1 – 2 ช้อนชา

วิธีใช้                      แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย


มะขาม

ชื่ออื่นๆ                 เหมือน 1.8

ส่วนที่ใช้               เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก)

ขนาด                     ถ้าแกะเมล้กแล้วขนาด 2 หัวเเม่มือ 15 – 30 กรัม

วิธีใช้                      จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ

Scroll to top