หนุมานประสานกาย
ชื่ออื่นๆ ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 12 ใบย่อย
วิธีใช้ ตำ คั้นนำ 2 ถ้วยตะไล รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5 – 7 วัน
ก้ามปูหลุด
ชื่ออื่นๆ ก้ามปู (กรุงเทพฯ), เตี๋ยวเต๊กบ๊วย, จุ๋เต๊กเช่า, อั่งจิเช่า, อะจิอั้ง, โกยจิอึ้ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ต้นสด
ขนาด ต้นสด 60 – 90 กรัม
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้วให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์
ว่านกาบหอย
ชื่ออื่นๆ ว่านหอยแครง, ว่านแสงอาทิตย์ (กรุงเทพฯ), ฮำหลั่งเช่า, อั่งเต๊ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 3 – 4 ใบ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมน้ำตาลกรวด รับประทานเช้าเย็น ติดต่อกัน 1 สัปดาห์
กระเม็ง
ชื่ออื่นๆ กระเม็งตัวเมีย, กาเม็งกระเม็ง (ไทย), ล้อม, หญ้าสับ, ห้อมเกี้ยว (เหนือ), ใบลบ (ใต้), บักอังน้อย, เฮ็กบักเช่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสดที่โตเต็มที่
ขนาด 120 กรัม
วิธีใช้ ตำเติมน้ำปูนใส 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์
ตับแรด
ชื่ออื่นๆ ก้ามปู, สร้อยห้วย, สิงห์หงส์ (กรุงเทพฯ), เปิ๊บผา (พายัพ), เลือดแรด, กอมกอยลอดขอม (อีสาน), ด้นแมงสาบ, ปีกแมงสาบ, มังกรไฟ, เตี้ยมคังหอม (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 20 ใบ
วิธีใช้ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงลงไปประมาณ 3 – 5 ช้อนแกง รับประทานเช้าเย็น ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ จะทำให้อาเจียนเป็นเลือดที่เกิดจากการช้ำในหยุด
หญ้าเกล็ดปลา
ชื่ออื่นๆ ฟันกระต่าย, ไต่หยี่หนึ่งจี้, ก้วยกังติ้ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น
ขนาด ต้นแห้ง 10 -15 กรัม ต้นสด 30 – 50 กรัม
วิธีใช้ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้วให้เหลือ 1 ถ้วย รับประทานเช้าเย็น