สำรอง
ชื่ออื่นๆ พุงละลาย (จันทบุรี)
ส่วนที่ใช้ เนื้อของผล
ขนาด 10 – 20 ผล
วิธีใช้ ใช้รวมกับชะเอม โดยเอาต้มกับน้ำ จิบน้ำบ่อยๆ แก้เจ็บคอ
ลิ้นมังกร
ชื่ออื่นๆ เหล่งจิเช่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 20 ใบ
วิธีใช้ ใบลิ้นมังกร ใส้น้ำตาลแดง 2 ช้อน ต้มน้ำ 1 ถ้วยแก้ว จิบแก้เจ็บคอ
บักบก
ชื่ออื่นๆ ผักแว่น (จันทบุรี, ใต้), ปะหนะเอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ผักหนอก (เหนือ), แจ๊ะเเซะเข่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 10 – 20 กรัม หรือ 1 กรัม
วิธีใช้ ตำต้นสดคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชู 1 – 3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
พระจันทร์ครึ่งซีก
ชื่ออื่นๆ บัวครึ่งซีก (ชัยนาท), ปั้วใบไน้ (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 15 – 30 กรัม (1 กำมือ)
วิธีใช้ ต้มน้ำรับประทาน
ว่านหางช้าง
ชื่ออื่นๆ ว่านมีดยับ (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ รากหรือเหง้า
ขนาด รากหรือเหง้าสด 5 – 10 กรัม, แห้ง 3 – 6 กรัม
วิธีใช้ ต้มน้ำรับประทาน
ถั่วเขียว
ชื่ออื่นๆ ถั่วจิม (เชียงใหม่), ถั่วดำเม็ดเล็ก, ถั่วทอง (กลาง), ถั่วมุม (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ เมล็ดถั่ว
ขนาด ไม่จำกัด หรือใช้ 3 กำมือ
วิธีใช้ ล้างถั่วให้สะอาด 3 กำมือใส่น้ำ 2 แก้วเคี่ยวให้เปื่อยเติมน้ำตาลกรวดพอหวานลงนำไปตากน้ำค้าง 1 คืน เชารับประทาน 1 ถ้วยวัละ 2 – 3 ครั้ง 2 วัน จะหายเจ็บคอ
ไมยราบ
ชื่ออื่นๆ ระงับ (กลาง), หงับพระพาย (ชุมพร), กระทืบยอดหนาม, หญ้าราบ(จันทบุรี), กะหงับ (ใต้), ก้านของ (นครศรีธรรมราช) นาหมื่นบ้ะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หญ้าปันยอด, หญ้าจิยอบ, หญ้าพันยอด (เหนือ), กาเสดโคก (หนองคาาย)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 60 กรัม
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้วเคี่ยวไฟอ่อนๆ ให้เหลือครึ่งแก้ว รับประทาน เช้า เย็น,
รับประทานติดต่อกับ 10 วัน ถ้ายังไม่หายให้รับประทานติดต่อกันอีก 10 วัน