ผักบุ้งทะเล
ชื่ออื่นๆ ผักบุ้งขัน, ผักบุ้งคัน (กลาง), ละบูเลาห์ (นราธิวาส)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 1 ราก
วิธีใช้ นำรากมาฝนกับน้ำฝน ให้ข้นๆ ใช้ทาแก้แพ้แมงกะพรุน ทาบ่อยๆ
ตำลึง
ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (เหนือ), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), สี่บาท (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 15 ใบ
วิธีใช้ ตำใบให้ละเอียด แล้วเติมน้ำซาวข้าวและพิมเสน ใช้พอกและทาบริเวณที่ถูกหมามุ่ย ตะรัวตัวช้าง จะช่วยถอนพิษและแก้ปวด
เสลดพังพอน
ชื่ออื่นๆ พญาปล้องทอง (กลาง), ผักมันไก่, ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่), พญาปล้องคำ (ลำปาง), พญาปล้องดำ (กลาง), พญายอ (ทั่วๆ ไป), โพะโซจาง (กะเหรี่ยง – แม่อ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 5 – 10 ใบ
วิธีใช้ ตำหรือขยี้ใบสด ทาบริเวณที่แมลงกัดต่อย จะทำให้แผลผื่นคันยุบหายไป ใช้ได้ผลดี
ฝักข้าว
ชื่ออื่นๆ ขี้กาเครือ (ปัตตานี), ผักข้าว (เหนือ), พุคู๊เด๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 3 – 4 ใบ
วิธีใช้ ตำใบสดให้ละเอียด ใช้ทาพอกบริเวณที่อักเสบ
พุงดอ
ชื่ออื่นๆ ขี้แฮด (ฉาน – เหนือ), ปิ๊ดเต๊าะ (เชียงใหม่), หนามพุงดด (กลาง), หนามรอบข้อ, หนามรอบตัว, หมีเหม็น, หนามเหม็น, พรมดอง, หนามรอบต้น
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 1 ราก
วิธีใช้ ใช้รากสนฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ทาบริเวณที่อักเสบบวม ทาบ่อยๆ ที่บวมอักเสบจะลดลง
หอม
ชื่ออื่นๆ ปะเซ่ส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปะเซอก่อ (กะเหรี่ยง – ตาก), หอมแดง (กลาง), หอมไทย, หอมเล็ก, หอมหัว (กลาง), หอมบัว (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ หัว
ขนาด 1 หัว
วิธีใช้ ปอกเปลือกแล้วขยี้หัวหอมทาที่บริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย อาการปวดจะค่อยๆหายไป
หญ้าพันงู
ชื่ออื่นๆ ควยงู, พันงู (กลาง), หญ้าตีนงูขาว (กรุงเทพฯ)
ส่วนที่ใช้ ดอก เมล็ด
ขนาด เมล็ด 1 หยิบมือ หรือดอก 3 ช่อ
วิธีใช้ นำอย่างหนึ่วอย่างใดบดให้ละเอียด ผสมเหล้าโรง ทาบริเวณที่แมลงกัดต่อย จะทำให้อาการเจ็บปวดบรรเทาลง
เท้ายายม่อม
ชื่ออื่นๆ กาซะลอง, จรดพระธรณี, ดอกคาน (ยะลา), ปิ้งขม, ปิ้งหลวง (เหนือ), พญารากเดียว (ใต้), พญาเล็งจ้อน, เล็งจ้อนใต้ (เชียงใหม่), พมที (อุดรธานี), เท้ายายม่อมตัวเมีย, พวกวอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), พินพี, โพพิ่ง (ราชบุรี), ไม้เท้าฤาษี, ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด, หญ้าลิ้นจ้อน (ประจวบคีรีขันธ์)
ส่วนที่ใช้ ราก
ขนาด 1 ราก
วิธีใช้ นำรากมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำฝนหรือเหล้าโรง ใช้น้ำคั้นรับประทาน กากพอกที่แมลงสัตว์กัดต่อย
ผักกาดน้ำ
ชื่ออื่นๆ หมอน้อย (กท.), หญ้าเอ็นยืด (เหนือ), ชีแต้เช้า, เชียแต้เช้า เจียเจ้ยเช้า, เชียเจ้นเช้า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 1 ต้น
วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นตำให้ละเอียด ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย หรืออักเสบ ใช้พอกผิวหนังที่ปวดบวมคัน เนื่องจากตำแย บุ้ง ร่าน หรืแผึ้งต่อย
สารพัดพิษ
ชื่ออื่นๆ ซับผิด (ใต้)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 1 ราก ยาวประมาณ 3 องคุลี
วิธีใช้ นำรากสดมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
คนทีสอทะเล
ชื่ออื่นๆ ดินสอ (กลาง), คนทีสอขาว (ชลบุรี), คุนตีสอ (สตูล), โคนดินสอ (จันทบุรี, กลาง), ดอกสมุทร, สีเสื้อน้อย (เชียงใหม่), ทิสอ, ผีเสื้อ (เลย), ผีเสื้อน้อย (เหนือ), มูดเพิ่ง (ตาก), สีสอ (ประจวบคีรีขันธ์)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 3 – 4 องคุลี
วิธีใช้ นำรากสดมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้ทาบริเวณที่โดนแมงกะพรุน หรือที่ฟกช้ำจะช่วยถอนพิษได้
สีฟันคนทา
ชื่ออื่นๆ กะลันทา, สีฟัน, สีฟันคนตาย, คนทา (กลาง), จี้, จี้หนาม, หนามจี้, สีเตาะ (เหนือ), หนามกะแท่ง (เลย), มีชี (กะเกรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ราก
ขนาด 3 – 4 องคุลี
วิธีใช้ นำรากมาฝนกับน้ำฝนหรือเหล้าโรงให้ข้น ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย
โลดทะนง
ชื่ออื่นๆ ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), ดู่เบี้ย, ดู่เตี้ย (เพชรบุรี), ทะนง, รักทะนง (นครราชสีมา), ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์), นางแซง (อุบลราชธานี), โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์), หนาดดำ (เหนือ), หัวยาข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 2 – 3 องคุลี
วิธีใช้ ใช้รากสดมาฝนกับน้ำฝนหรือเหล้าโรงให้ข้นๆ ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อยจะช่วยถอนพิษ
แป๊ะตำปึง
ชื่ออื่นๆ ประดำดีควาย, มะคำดีควาย (ปัตตานี), มุแมงสัง (ชุมพร), จักรนารายณ์
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 3 – 4 ใบ
วิธีใช้ ตำใบสดให้ละเอียด เติมเหล้าโรง ใช้พอกบริเวณที่อักเสบหรือแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยถอนพิษได้
ผักเสี้ยนผี
ชื่ออื่นๆ ผักส้มเสี้ยนผี (เหนือ), ผักเสี้ยนขาว (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ทั้ง 5
ขนาด 1 ต้นเล็กๆ หรือประมาณ ½ กำมือ
วิธีใช้ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรง 2 ถ้วยตาไล คั้นเอาเฉพาะน้ำ รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตาไล กากพอกที่ปากแผล