สมุนไพรขับประจำเดือน

เทียนบ้าน

ชื่ออื่นๆ                 เทียนดอก, เทียนไทย, เทียนสวน, เทียนขาว (ไทย), จึงกะฮวย, ใจกะฮวย, ห่งเซียง, เซียวถ่ออั้ง, โจ๋ยกะเช่า (จีน)

ส่วนที่ใช้               เมล็ดแห้งของต้นเทียนชนิดดอกสีขาว

ขนาด                     60 กรัม

วิธีใช้                      เมล็ดบดเป็นผง รวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมน้ำผึ้งทำเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา


แก้ว

ชื่ออื่นๆ                 กะมูงนิง (ปัตตานี), แก้วขาว (กลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (เหนือ), แก้วลาย (สระแก้ว), จ๊าพริก, จ้าพริก (ลำปาง), เกาหลี่เฮียง (จีน)

ส่วนที่ใช่               ใบสด

ขนาด                     10 – 15 กรัม

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง หรือใช้ดองเหล้ารับประทานแต่เหล้าครั้งละ 1 ตะไล


เจตมูลเพลิง

ชื่ออื่นๆ                 คุยวู่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ตั้งชู้โว้ (กระเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), พิดปิวแดง. ปิดปิวแดง (เหนือ), เจตมูลเพลิง, ไฟใต้ดิน (มลายู), อุบะกูจ๊ะ (ปัตตานี)

ส่วนที่ใช้               รากแห้ง

ขนาด                     1 – 2 กรัม

วิธีใช้                      ใช้รากแห้งต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว


คัดเค้า

ชื่ออื่นๆ                 คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา), คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ), เค็ดเค้า (เหนือ), จีเค๊า, หนามลิดเค้า (เชียงใหม่), พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี)

ส่วที่ใช้                  ผล

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานเช้าเย็น


ฝ้าย

ชื่ออื่นๆ                ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายดอก (เชียงใหม่), ฦ้านเทศ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), สำลี

ส่วนที่ใช้               เปลือกราก

ขนาด                     2 กรัม

วิธีใช้                      สัยเปลือกรากฝ้ายหนัก 8 กรัมให้ละเอียด ชงด้วยน้ำเดือดครึ่งลิตร หรือประมาณ 4 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว


ขี้ครอก

ชื่ออื่นๆ                 ขมงดง (สุโขทัย), บอเพอ, ปะเทาะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปอเส้ง (ปัตตานี), ปูล (นราธิวาส), เส้ง (ใต้), หญ้าผมยุ่ง, หญ้าอียู, ขี้คาก (เหนือ), หญ้าหัวยุ่ง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), ขี้หมู (นครราชสีมา), ซังโบ๋เท้า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทังต้น

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      สับต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานเมื่อปวดท้องเวลามีประจำเดือน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว

ข้อควรระวัง          ยาขับประจำเดือน ห้ามสตรีตั้งครรภ์รับประทานอย่างเด็ดขาด


ฝาง

ชื่ออื่นๆ                 ง้าย (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (กลาง), หนามโค้ง (แพร่), โซบั๊ก (จีน)

ส่วนที่ใช้               แก่น

ขนาด                     5 – 15 กรัม หรือ 5 – 8 ชิ้น

วิธีใช้                      ใช้แก่นต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4 – 5ฝีก เครี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทานเช้าเย็น

Scroll to top