ว่านไก่น้อย
ชื่ออื่นๆ ละอองไฟฟ้า (กลาง), หัสแดง (นครราชสีมา), กูดผีป่า, กูดพาน (เหนือ), กูดเสือ, โพสี (ปัตตานี), ขนไก่น้อย (เลย), แตดลิง (ตราด), นิลโพสี (สงขลา)
ส่วนที่ใช้ เหง้า
ขนาด 1 ชิ้น ขนาดเท่าหัวแม่มือ
วิธีใช้ เอาเหง้าของว่านไก่น้อยฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้ใส่แผลเรื้อรัง
ชันสน
ชื่ออื่นๆ เกี๊ยะเปลือกแดง (เหนือ), เซี้ยงบ๊ง (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), สน, สนสามใบ (กลาง), สนสองใบ (กลาง), เกี๊ยะเปลือกดำ (เหนือ), จ่วง (เหนือ), เซียงเซา (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), โซ (เชียงใหม่), ไต้ (ศรีสะเกษ), แปก (เลย), สนเขา, สนหางม้า (กลาง), สะรอล (เขมร – สุรินทร์)
ส่วนที่ใช้ ชันจากต้นสน
ขนาด เท่าหัสแม่มือ
วิธีใช้ บดชันสนให้ละเอียด เติมพิมเสนเล็กน้อย ผสมให้เข้ากันใช้พอกแผลเรื้อรัง พันผ้าปิดแผล และให้เปลี่ยนยาทุก 3 – 5 วัน แผลจะหาาย ก่อนใช้ยาพอกต้องชำระล้างแผลให้สะอาดทุกครั้ง เช้ดบริเวณแผลให้แห้ง อาจจะใช้กับแผลที่เกิดจากคนไข้เป็นโรคเบาหวาน
แพงพวยน้ำ
ชื่ออื่นๆ ผักปอดน้ำ (เหนือ), ผักพังพวย, ผักเเพงพวย (กลาง),
ส่วนที่ใช้ ต้นสดอยู่ในน้ำ
ขนาด 1 ต้น
วิธีใช้ ล้างต้นให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลเรื้อรังเน่าเปื่อย เปลี่ยนยาทุกๆ วัน
3 – 5 วัน ควรเห็นผล
ผักเบี้ยใหญ่
ชื่ออื่นๆ ผักตากโค้ง (นครราชสีมา), ผักเบี้ยดอกเหลือง, ผักอีหลู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ต้นสด
ขนาด 1 – 2 ต้น
วิธีใช้ ต้นสดตำคั้นน้ำมาต้ม ปล่อยไว้ให้เย็น นำมาทาแผลเปื่อยเรื้อรัง ทา 5 – 6 ครั้งจะเห็นผล