โมกหลวง
ชื่ออื่นๆ ซอทือ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), พุด (กาญจนบุรี), พุทธรักษา (เพชรบุรี), มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมก, โมกทุ่ง (เหนือ), โมกใหญ่ (กลาง), ยางพุด (เลย), หนามเนื้อ (ฉาน – เหนือ)
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น
ขนาด ครึ่งกำมือ, 6 – 10 กรัม
วิธีใช้ เปลือกโมกหลวงผสมกับผลมะตูมแห้ง อย่างละเท่าๆ กัน รวมกับเปือกรากทับทิมครึ่งส่วน ตำให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ของยาที่ผสมแล้ว (ประมาณ 3 – 5 เมล็ดพุทธา) หรือใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง
ราชดัด
ชื่ออื่นๆ กะดัด, ฉะดัด (ใต้), กาจับหลัก, เท้ายายม่อมน้อย, มะขี้เหา, มะดีควาย, ยาแก้ฮากขม (เชียงใหม่), ดีคน (กลาง), พญาดาบหัก (ตราด), เพียะฟาน (นครราชสีมา), มะลาคา (ปัตตานี)
ส่วนที่ใช้ ผลแก่
ขนาด 5 – 8 ผล
วิธีใช้ ผลมาทุบต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือค่อนแก้วรับประทาน
ปรู๋
ชื่ออื่นๆ ปรู, ผลู (กลาง), ปรู๋ (เหนือ), มะเกลือกา (ปราจีน), มะตาปู๋ (เชียงใหม่)
ส่วนที่ใช้ เปลือกราก
ขนาด 2 – 3 กรัม
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวเหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
ปอบิด
ชื่ออื่นๆ ช้อ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่), ปอทับ (เชียงใหม่), มะปิด (กลาง – เหนือ), มอลิงไซ (เหนือ), เข้าจี (ลาว – สระบุรี), ลูกบิด
ส่วนที่ใช้ ผลแก่
ขนาด 6 – 8 ฝัก
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
ขมิ้นเครือ
ชื่ออื่นๆ ขมิ้นฤาษี (กลาง), แหนเครือ, มันแดง, ผ้าร้ายห่อทอง (เหนือ), เดิมวอโกรด (เขมร)
ส่วนที่ใช้ ดอก
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำรับประทาน 1 ถ้วยแก้ว
ไพล
ชื่ออื่นๆ เหมือน 3.12
ส่วนที่ใช้ เหง้าสด
ขนาด 4 – 5 แว่น
วิธีใช้ ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทานหรือใช้ฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
แห้วหมู
ชื่ออื่นๆ หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), หญ้าแห้วหมูใหญ่, หญ้าแห้วหมู
ส่วนที่ใช้ หัวแห้ง
ขนาด 6 – 8 หัว
วิธีใช้ บดกับขิงแก่แห้ง 4 – 5 แว่น คลุกกับน้ำผึ้ง รับปรัทานเป็นยาลูกกลอน
กระชาย
ชื่ออื่นๆ เหมือน 4.12
ส่วนที่ใช้ เหง้าสด
ขนาด 2 เหง้า
วิธีใช้ บดให้ละเอียดเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต้น้ำรับประทาน
หญ้าขัดใบป้อม
ชื่ออื่นๆ ตานทราย (ประจวบขีรีขันธ์)
ส่วนที่ใช้ ต้น ใบสด
ขนาด ต้นสด 1 กำมือ
วิธีใช้ ตำคั้นเอาน้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รบประทาน 3 – 4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
สีฟันคนทา
ชื่ออื่นๆ กะลันทา, สีฟัน, สีฟันคนตาย, คนทา (กลาง), จี้, จี้หนาม, หนามจี้, สีเตาะ (เหนือ), หนามกะแท่ง (เลย), มีชี (กะเกรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น หรือเปลือกราก
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ สับต้มน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้งวดเหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว
กะบูน
ชื่ออื่นๆ ตะบูน, กระบูนขาว, ตพบูนขาว (กลาง)
ส่วนที่ใช้ เมล็ด
ขนาด 1 – 2 เมล็ด
วิธีใช้ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง
ฟ้าทะลายโจร
ชื่ออื่นๆ หญ้าก้นงู (สงขลา), น้ำลายพังพอน, คีปังสี, ชวงซิมน้อย, เจ้กเกี้ยงฮี่, โข่วเช่า, ซี้กังปี (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้วต้นสด
ขนาด 10 – 15 กรัม หรือครึ่งกำมือ
วิธีใช้ ต้มน้ำรับประทาน
ช้าพลู
ชื่ออื่นๆ เหมือน 3. 4
ส่วนที่ใช้ ราก ผล
ขนาด รากครึ่งกำมือ ผล 3 – 4 หยิบมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว
ปอกระเจา
ชื่ออื่นๆ กระเจา (ทั่วไป)
ส่วนที่ใช้ ใบ
ขนาด ใบสด 0.5 – 0.8 กรัม ใบแห้ง 0.2 – 0.3 กรัม
วิธีใช้ บดเป็นผงรวมกับขมิ้นชันอย่างละเท่าๆ กัน รับประทานกับน้ำร้อน
บานไม่รู้โรย
ชื่ออื่นๆ กะล่อม, ตะล่อม (เหนือ), ดอกสามเดือน (ใต้)
ส่วนที่ใช่ ดอกสด แห้ง
ขนาด 8 – 12 ดอก 3 – 10 กรัม
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 2 ครั้ง ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย เหมาะกับบิดชนิดเป็นมูก