ชุมเห็ดเทศ
ชื่ออื่นๆ ชุมเห็ดใหญ่, ชุมเห็ด (ไทย), ลับมื่นหลวง, ขี้คาด, หมากกะลิงเทศ (พายัพ)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 3 – 4 ใบย่อย
วิธีใช้ ขยี้ให้น้ำออกมา เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ผิวไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็นกลาดเบาๆ แล้วขยี้ทาใบชุมเห็ดเทศ ที่ผสมเกลือจะรู้สึกแสบๆ คันๆ ทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ทองพันชั่ง
ชื่ออื่นๆ ทองตันชั่ง, หญ้ามันไก่ (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ใบสด รากสด
ขนาด ใบ 5 – 8 ใบ ราก 2 – 3 ราก
วิธีใช้ ใช้ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อยทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ เอาเหล้าที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
กระเทียม
ชื่ออื่นๆ หอมเทียม (พายัพ), เทียม, หัวเทียม (ใต้ – ปัตตานี)
ส่วนที่ใช้ หัว
ขนาด 3 – 4 กลีบ
วิธีใช้ ตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนวันละ 2 – 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย หรือจะปอกเปลือกแล้วขยี้ตรงบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน
ข่า
ชื่ออื่นๆ ข่าตาแดง
ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่ๆ
ขนาด เท่าหัวแม่มือ
วิธีใช้ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาหลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย
ชุมเห็ดไทย
ชื่ออื่นๆ ชุดเห็ดเขาควาย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ไทย), พรมดาน (สุโขทัย),
เล็บมื่น, เล็บมื่นน้อย (พายัพ – อีสาน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 20 ใบย่อย
วิธีใช้ ตำใใบให้ละเอียดเติมเหล้าโรงเล็กน้อยพอแฉะๆ ทาบริเวณ ที่เป็นวันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย
ผักบุ้ง
ชื่ออื่นๆ ผักทอดยอดด (กลาง), กำจร (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), โหนเดาะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), เอ้งไฉ่ (จีน)
ส่วนที่ใช้ ดอกตูม
ขนาด 6 – 10 ดอก
วิธีใช้ ขยี้หรือตำ ทาบริเวณที่เป็นกลากหรือเกลื้อน จนกว่าจะหาย
กะเพรา
ชื่ออื่นๆ กะเพราขาว, กะเพราดำ, กะเพราขน (ไทย), กอนก้อดำ (พายัพ), กอมก้อ (ภาคเหนือ)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 15 – 20 ใบ
วิธีใช้ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2 – 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ส้มกบ
ชื่ออื่นๆ ผักแว่น (กลาง), สังส้ม (แพร่), ส้มดิน, หญ้าตานทราง (แม่ฮ่องสอน), ส้มสังกำ, ส้มสามตา (เชียงใหม่)
ส่วนที่ใช้ ต้นสด
ขนาด 1 – 2 ต้น
วิธีใช้ ล้างให้สะอาด ขยี้หรือตำ ถูทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 – 4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
เทียนบ้าน
ชื่ออื่นๆ เทียนดอก, เทียนไทย, เทียนสวน, เทียนขาว (ไทย), จึงกะฮวย, ใจกะฮวย, ห่งเซียง, เซียวถ่ออั้ง, โจ๋ยกะเช่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ตำให้ละเอียด ทาทั้งน้ำทั้งเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย