ชื่อสมุนไพร : กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่น ๆ : กระเจี๊ยบเปรี้ยว(ภาคกลาง), ส้มเก็งเค็ง, ผักเก็งเค็ง(ภาคเหนือ), ส้มปู(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ส้มตะเลงเครง(ตาก) ,ส้มพอเหมาะ
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorrel, Rosella
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง ลักษณะใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาวประมาณ 7 – 13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบนด้านล่าง ขอบใบเป็นแฉกคล้ายนิ้วมือ 3 นิ้ว หรือเป็น 5 แฉก ระยะห่างระหว่างแฉก 0.5 – 3 ซม. ลึกประมาณ 3 – 8 ซม. มีหูใบเป็นเส้นเรียวยาว 0.8 – 1.5 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมน แต่ละแฉกมีรูปใบหอก ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย มีเส้นใบ 3 – 7 เส้น สีแดง ใบด้านล่างนูนเด่น โคนเส้นกลางใบด้านท้องใบมีต่อม 1 ต่อม แผ่นใบสีเขียวเกลี้ยง ก้านใบยาว 4 – 15 ซม. มีขนรูปดาวปกคลุม ใบที่มีอายุน้อย และใบใกล้ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่
- ดอกกระเจี๊ยบแดง เป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายกิ่ง ดอกมีก้านดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบหนา มีสีแดงเข้มหุ้มดอก และกลีบรองดอก ที่เป็นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8 – 12 กลีบ มีสีแดงเข้ม กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอกเมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาวแกมชมพู บริเวณกลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง ทำให้กลีบรองดอก และกลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก
- เมล็ดกระเจี๊ยบแดง ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก
ช่วงเวลาที่เก็บยา : ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 – 4 เดือนครึ่ง
รสและสรรพคุณยาไทย : กลีบรองดอก กลับเลี้ยงและใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ
วิธีใช้ กระเจี๊ยบแดง :
- อาการขัดเบา
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป