ขลู่

ชื่อสมุนไพร : ขลู่
ชื่ออื่น ๆ :
หนาดงัว, หนาดวัว, หนวดงั่ว, หนวดงิ้ว (อุดรธานี), ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน), ขลู่ (ภาคกลาง), คลู, ขลู (ภาคใต้), หลวน ซี (จีนกลาง), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (Linn.) Less.
ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นขลู่ เป็นพรรณไม้พุม่ขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร แตกกิ่งก้านมากและเกลี้ยง
  • ใบขลู่ จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความยาวประมาณ 1-5.5 ซม. กว้างประมาณ 2.5-9 ซม. ตรงปลายใบของมันจะมีลักษณะแหลม หรือ แหลมมีติ่งสั้น ขอบใบจะเป้นซี่ฟันและแหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษ ค่อนข้างเกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน
  • ดอกขลู่ จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง จะออกตามง่ามใบ ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอก จะมีความยาวประมาณ 2-6 มม. แต่ไม่มีก้านดอก ริ้วประดับ มีลักษณะแข็ง สีเขียว และเรียงกันประมาณ 6-7 วง วงอยู่นอกนั้นจะเป็นรูปไข่ วงที่อยู่ในจะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายของมันจะแหลม กลีบดอกวงนอกกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มม. ดอกวงในกลีบดอกจะเป็นรูปท่อมีความยาวประมาณ 4-6 มม. ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ5-6 ซี่ อับเรณู ตรงโคนจะเป็นรูปหัวลูกศรสั้น ๆ เกสรท่อเกสรตัวเมียจะมี 2 แฉกสั้น ๆ
  • ผลขลู่ แห้ง จะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม. แผ่กว้าง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใช้ทั้งห้า ทั้งสดและแห้ง (นิยมใช้เฉพาะใบ)

รสและสรรพคุณยาไทย : สรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

วิธีใช้ ขลู่ :

  • อาการขัดเบา
    ใบขลู่ วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40-50 กรัม แห้งหนัก 15-20 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มิลลิลิตร)
Scroll to top