ชื่อสมุนไพร : ขิง
ชื่ออื่น ๆ : ขิงเผือก (เชียงใหม่), ขิงแดง, ขิงแกลง (จันทบุรี), สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกีย (จีน), ขิงบ้าน
ชื่อสามัญ : Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นขิง เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งเรียกว่าเหง้า ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. ลักษณะเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะกลมและแบน ลำต้นแท้จะมีลัษณะเป็นข้อ ๆ เนื้อในจะเป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อน สุดท้ายของข้อนั้นจะเป็นยอดหรือต้นเทียมใหญ่เท่าแท่งดินสอดำ และกาบหรือโคนใบหุ้ม
- ใบขิง เป็นชนิดใบเดี่ยว จะออกสลับกันเป็นสองแถว ก้านใบนั้นจะยาวห่อหุ้มลำต้น ใบเขียวยาวรูปหอก ฐานใบนั้นเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบ มีความกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. รูปใบคล้ายใบไพล
- ดอกขิง จะออกรวมกันเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะแท่งขึ้นมาจากเหง้า มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงลักษณะโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบนั้นจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะบานให้เห็นดอกในภายหลัง ดอกที่ปิดกันแน่นนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบดอกจะติดกันแน่นยาวประมาณ 2 ซม. และมีสีเหลืองออกเขียวส่วนกลีบรองดอกจะยาวประมาณ 2.5 ซม. เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ และมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 ซม.ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกนั้น ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 3 กลีบ สามารถอุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนตรงปลายของกลีบจะผายกว้างออก เกสรจะมีอยู่ 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อไปมีสีม่วงแดง และจะมีจุดสีเหลือง คล้ายลิ้น ตรงปลาย จะมนกลมสั้นกว่ากลีบดอก ส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นนั้นมีก้านเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน และมีอับเรณูล้อมรอบรังไข่ มีอยู่ 3 ห้อง
- เมล็ดขิง (ผล) จะมี 3 พู ภายในเมล็ด ผลจะกลม ผลโตและแข็งแรง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.
- เหง้าขิง เมื่อแก้จะมีรสเผ็ดร้อนมาก เนื้อเหง้าขิงสีเนื้ออมเหลือง ๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เป็นยา เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11 – 12 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
วิธีใช้ ขิง :
เหง้าขิงใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ดังนี้
- อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
โดยใช้เหง้าแก่สดขยาดเท่าหัวแม่มืด (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม - อาการไอ มีเสมหะ
ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและแทรกเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ - อาการคลื่นไส้อาเจียน
เนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถ เมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดขยาดเท่าหัวแม่มืด (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม