ข่า

ชื่อสมุนไพร : ข่า
ชื่ออื่น ๆ 
: ข่า, ข่าใหญ่, ข่าหลวง, ข่าหยวก (เหนือ), เสะเออเคย, สะเชย(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Glalangal, Greater Galangal,Chinese Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นข่า ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 1.5-2 เมตร มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีข้อและปล้องชัดเจน เลื้อยขนานพื้นดินและแตกแขนงเป็นแง่ง เหง้าหัวมีขนาดใหญ่ด้วนสีขาว ลำต้นเทียมเหนือดินคือส่วนของกาบใบที่หุ้มซ้อนทับกันมีสีเขียวทรงกระบอกกลม เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ
    เหง้าข่า
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว แตกใบเวียนรอบต้น ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบและบางช่วงเป็นคลื่น ปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเฉียงและสอบเรียวเข้าหาก้านใบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น กว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 20-40 เซนติเมตร
    ใบข่า
  • ดอกข่า ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ตรงปลายยอด แกนกลางช่อมีขนและดอกดช่อจะจัดอยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีใบประดับรูปไข่ลักษณะเป็นกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด ดอกสีขาวขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่มีริ้วสีแดง
  • ผลข่า ลักษณะรูปทรงกระบอกหรือกลมรี ขนาดเท่าเม็ดบัว ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม และภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ มีรสขมและเผ็ด ผลแห้งแตกได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่ สด หรือแห้ง

ข่า

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

รสและสรรพคุณยาไทย : เหง้าข่า รสเผ็ดปร่า ขับลมแก้บวมฟกซ้ำ

วิธีใช้ ข่า :

เหง้าข่า ใช้เป็นยารักษาโรคดังนี้

  1. โรคกลากเกลื้อน
    เอาหัวข่าแก่ๆล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นและใช้ไม้บางๆ ขูดให้เป็นผิวสีแดงๆ และใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็น ทา 2 ครั้ง เช้า – เย็นทุกวัน จนกว่าจะหายาก
  2. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด
    ทำได้โดยใช้เหง้าแก่สดหรือแห้ง ขยาดเท่าหัวแม่มือ (สดหนัก 5 กรัม แห้งหนัก 2 กรัม) ต้มน้ำดื่ม
Scroll to top