ชื่อท้องถิ่น ชุดเห็ดใหญ่ (ภาคกลาง) , ขี้คาก , ลับมึนหลวง , หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) , ส้มเห็ด (เชียงราย) , จุมเห็ด (มหาสารคาม) , ตะลีพอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่ม ใบรูปใข่หรือรูปใข่ขอบขนาน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เรียงตัวเป็นแบบใบประกอบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนยาว มีปีก 4 ปีก เมล็ดในรูปสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอกสด , ใบสดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบชุมเห็ดเทศขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก , เก็บดอกสดเป็นยา
รสและสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก
วิธีใช้ ใบและดอกชุมเห็ดเทศใช้เป็นยารักษาโรคและอาการดังนี้
- ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบชุมเห็ดเทศและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ถ้าเป็นมาให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ