น้อยหน่า

ชื่อสมุนไพร : น้อยหน่า
ชื่ออื่นๆ
 :  หมักเขียบ(ตะวันออกเฉียงเหนือ)ลาหนัง(ปัตตานี)มะนอแน่มะแน่(เหนือ)หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)มะออจ้ามะโอจ่า(เงี้ยว-เหนือ)เตียบ(เขมร)
ชื่อสามัญ : Sugar Apple, Sweetsop, Custard Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นน้อยหน่า เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนักผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร
  • ใบน้อยหน่า ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายและโคนใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
  • ดอกน้อยหน่า ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะห้อยลงมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลาง ดอกมีจำนวนมากมาย
  • ผลน้อยหน่า ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระ เป็นช่องกลมนูน ซึ่งในแต่ละช่องน้อยหน่านั้นภายในจะเป็นเนื้อสีขาวและมีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว แต่ถ้าสุกตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาวและบีบดูจะนุ่ม ๆ

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสดและเมล็ด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บใบสดและเมล็ด

รสและสรรพคุณยาไทย : ใบแก้กลากเกลื้อนและฆ่าเหา ชาวชนบทมักเอาลูกตายมาฝนกับเหล้ารักษาแผล

วิธีใช้ น้อยหน่า :

  • โรคหิดเหา
    โดยเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าว 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศรีษะแล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา ตาอักแสบได้)
  • อาการ กลาก เกลื้อน
    ใบน้อยหน่ามาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อยเพื่อให้รู้สึกเย็น ใช้ทารักษากลากเกลื้อน หิด โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหรือปรสิตชนิดต่างๆ
Scroll to top