ประเภทของลม ประกอบด้วย 6 ลม คือ
- อุทังคมาวาตา (ลมพัดขึ้นเบื้องสูง)
- อโธคมาวาตา (ลมพัดลงเบื้องต่ำ)
- กุจฉิสยาวาตา (ลมในท้องนอกลำไส้)
- โกฏฐาสยาวาตา (ลมในท้องอยู่ในลำไส้)
- อังคมังคานุสารีวาตา (ลมพัดทั่วกาย)
- อัสสาสะ ปัสสาสะวาตา (ลมหายใจ)
ตัวคุมธาตุลม มีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ หทัยวาตะ (ลมที่เกี่ยวกับหัวใจ จิตใจหรือลมที่ทำให้หัวใจเต้น) สัตถกวาตะ และสุมนาวาตะ (ระบบไหลเวียนของเลือดและประสาท)
โรคลมในตำราแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับการนวด
- ลมปลายปัตคาต กลุ่มของอาการเจ็บปวดที่คอ ไหล่ และกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามตัวให้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ปัตคาต บางครั้งหมอนวดเรียกว่า ลมปลายปัตคาต ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เป็นก้อน อาจเกิดได้ทั่วกายหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น ลมปลายปัตคาตบ่า
- ลมจับโปง หมายถึง ลมที่ทำให้บวมแดงและปวดที่ข้อเข่า ข้อเท้า จับโปง มี 2 ชนิด คือ จับโปงแห้งและจับโปงน้ำ
- จับโปงน้ำ มีอการปวด บวม แดงร้อน บางครั้งเป็นมากจนเป็นไข้ เรียกว่า ไข้จับโปง มักกำเริบตอนปลายฝน ต้นหนาว
- จับโปงแห้ง มีอาการปวดแต่ไม่บวม