ภูมิปัญญาการนวดแผนไทยภาคใต้

ปรัชญาและแนวคิดของการนวดแผนไทยภาคใต้

  • การนวดแผนไทยของภาคใต้มักจะมีการควบคู่มากับการนวดของหมอตำแย โดยการนวดพื้นบ้านของทางภาคใต้นั้นจะมีการนวดกล่อมท้อง ซึ่งทำให้คนท้องมีความสบายคลายความปวดเมื่อย เป็นการจัดท่าทางของทารกในครรภ์ ลดการกดทับของศีรษะเด็กที่มีต่ออุ้งเชิงกรานในช่วงอายุครรภ์ 7-8 เดือนครึ่ง
  • แนวคิดการวินิจฉัยอาการและการเรียกชื่อโรค
    ╰☆ เอ็นหมาหยุก คือ เส้นและเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหน้าลำคอ
    ╰☆ กุนบาน (มดลูกบาน)
    ╰☆ กุนล่อ (มดลูกปลิ้น)
    ╰☆ ตีนพลิ๊กเมีย คือ ข้อเท้าแพลงเจ็บข้อเท้าด้านใน
    ╰☆ หลู่กบ้าลอย คือ ลูกสะบ้าเคลื่อนออกจากที่
    ╰☆ เล่อะหลึ๊ด คือ ข้อศอกหลุด
    ╰☆ ลิ๊นห๊ด (ลิ้นหด)
    ╰☆ ป๊ะเข (ปากเบี้ยว)
    ╰☆ ฮู๊นั๊ก (หูตึง)
    ╰☆ แค๋นต๋าย (ยกแขนไม่ขึ้น)
    ╰☆ เอ้นต๊กหน่กต๋าย (เอ็นตกนกตาย) คือ โรคกามตายด้าน
    ╰☆ พ้องข๊น (ขนลุก)
    ╰☆ ขั๊ดหย๋อ (ขัดยอก)
  • ขอบเขตความสามารถในการบำบัดความเจ็บป่วยของหมอนวดพื้นบ้านภาคใต้ ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อซึ่งเกิดจากการทำงานหนัก การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวไม่ถูกต้อง ที่เรียกว่า เข็ด อาการข้อเท้าเคล็ด เรียกว่า ตีนพลิกเมีย บางรายรักษาอาการที่เกี่ยวกับมดลูก ที่เรียกว่า การคัดท้อง

รูปแบบวิธีการนวดแผนไทยภาคใต้

  • เทคนิคและวิธีการนวดพื้นบ้านภาคใต้ ได้แก่ การเขี่ยเส้น การสะกิดเส้น การเคว็กเส้น การกด การดึง การบีบ การเหยียบ
    ╰☆ การสะกิดเส้น คือ การใช้นิ้วทั้งห้าดึงกล้ามเนื้อขึ้นมาอย่างเร็ว
    ╰☆ การเคว็กเส้น คือ การใช้ปลายนิ้วมือดึงเส้นเข้ามาหาตัว
  • จุดอันตรายที่ควรระมัดระวังในการนวดพื้นบ้านภาคใต้
    ╰☆ จุดเหนือใบหูบริเวณทัดดอกไม้
    ╰☆ บริเวณขมับ
    ╰☆ จุดหัวคิ้ว
    ╰☆ ต้นคอ ระหว่างกะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอ
    ╰☆ จุดใต้รักแร้
    ╰☆ จุดบริเวณซอกกระดูกไหปลาร้า
    ╰☆ จุดทั้ง 4 บริเวณหน้าอก
    ╰☆ รอบสะดือมีรัศมีออกจากสะดือ 2 นิ้ว ห้ามกด
    ╰☆ จุดแท้งในสตรีที่ตั้งครรภ์บริเวณกระเบนเหน็บ
    ╰☆ จุดกลางลำตัวชิดกระดูกหัวหน่าว
    ╰☆ จุดบริเวณข้อพับศอก
    ╰☆ จุดใต้ข้อศอกด้านนอกและใน
    ╰☆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ
    ╰☆ จุดใต้เข่า
  • วิธีการรักษาที่ใช้ร่วมกับการนวดพื้นบ้านภาคใต้ คือ การประคบร้อน
Scroll to top