วิธีการนวดแผนไทยตามกลุ่มอาการและโรคที่รักษาหายได้
❐ กลุ่มอาการและโรคซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการนวดแผนไทย ได้แก่
- อาการที่ปวดที่พบบ่อย คือ
✦ ปวดศีรษะ มีการนวดแก้ 6 จุด หน้า 3 จุด หลัง 3 จุด
✦ ปวดเมื่อยคอ
✦ ปวดเมื่อยไหล่ มีการนวด 6 จุด คือ จุดใต้กระดูกไหลปลาร้าใกล้ข้อไหล่ จุดร่องกล้ามเนื้อสามเหลี่ยมด้านหน้า จุดเหนือรอยพับแขนด้านหน้า จุดเหนือรอยพับแขนด้านหลัง จุดตรงกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ กลางกระดูกสะบัก จุดมุมสะบักตรงร่องด้านบน
✦ ปวดเมื่อยแขน มี 3แนวเส้น คือ แนวนิ้วก้อยมี 6 จุด แนวนิ้วกลาง 6 จุด และแนวนิ้วชี้มี 6 จุด มีการนวดนิ้วมือร่วมด้วย มีท่าดัดแขน ปั้นมือ สะบัดแขนร่วมด้วย
✦ ปวดเมื่อยหลัง ถ้าปวดหลังเฉพาะส่วนเอว ใช้ท่าดัดแก้ปวดหลังร่วมด้วย 5 ท่า และเน้นกดจุดต้นขาด้านหลัง 4 จุด คือ ต้นขา กลางขา กลางข้อพับเข่า และกลางน่อง
✦ ปวดเมื่อยเข่า มีจุดนวดเหนือเข่า 3 จุด ด้านข้างต้นขาใกล้เข่า 3 จุด ใต้สะบ้าเข่า 2 จุด และจุดที่ท้องข้างสะโพก 2 จุด
✦ ปวดเมื่อยขา ใช้ท่าดัด 5 ท่า คือ กางขาให้ตึง ดึงปลายเท้ายัน ปั่นจักรยาน ขัดปลายเท้าถีบ หนีบขาสาว - อาการตกหมอน เกิดจากการปรับกิริยาอาการในการทำงานไม่ถูกต้อง การทำงานหนักของสมองและกล้ามเนื้อบริเวณคอ และการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีท่าฤาษีดัดตนแก้ลมในคอ
- อาการสะบักจม เป็นการปวดของกล้ามเนื้อแผ่นหลังที่อยู่ใต้หัวไหล่ลงมา สาเหตุมาจาก 1)ทำงานหนักหรือยกของหนัก 2)อยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน ๆ 3)เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ 4)จากแรงกระแทก แรงบิดที่ทำให้หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทหรือกระดูคองอก (ห้ามนวด) ในการนวด ท่าของผู้ป่วยในท่านั่งหรือนอนก็ได้ โดยถ้าได้ผลไม่เต็มที่ ควรให้คนไข้ดัดตนแบบท่าปลา และไม่ควรทำการรักษาด้วยตนเองโดยการซื้อยามาใช้
- ข้อเท้าแพลง เกิดเพราะกล้ามเนื้อน่องเกิดอาการเครียดและเกร็งตัวมากเกินไป ในขณะข้อเท้าพลิก ทำให้เอ็นยึดข้อยืดออกหรือฉีกขาด การนวดรักษา มี 2 ลักษณะ คือ
✦ ข้อเท้าแพลงชนิดเอ็นยึดหรือข้อเท้าแพลงด้านนอก ในระยะแรกต้องยกเท้าให้สูงไว้ประคบน้ำแข็งประมาณ 30 นาที แล้วใช้ผ้ายืดพันไว้ให้แน่นพอดี หลังจาก 24 ชั่วโมง ถ้าไม่บวม แต่ยังมีอาการเจ็บให้นวดที่น่องและสันหน้าแข้งและนวดฝ่าเท้าประมาณ 30 นาที การนวดให้นวดที่เส้นสันหน้าแข้งลงมาถึงข้อเท้า
✦ ข้อเท้าแพลงชนิดเอ็นฉีกขาด ในระยะแรกต้องประคบด้วยน้ำแข็งแล้วพันด้วยผ้ายืด จากนั้นนำส่งโรงพยาบาล ห้ามนวดโดยเด็ดขาด
วิธีการนวดแผนไทยตามกลุ่มอาการและโรคที่นวดเพื่อบรรเทาอาการ
❐ กลุ่มอาการและโรคที่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการนวดแผนไทย ได้แก่ อาการหัวไหล่ติดอักเสบเฉียบพลัน หัวไหล่ติดเรื้อรัง อาการลมปะกัง (เป็นชื่อของอาการปวดศีรษะเวลาเช้า) กระดูกงอกส้นเท้า สันนิบาตตาตก/อัมพาตใบหน้า อาการปวดข้อศอก/ลมปลายปัตฆาตข้อศอก มือชา/ลมปลายปัตฆาตข้อมือ
วิธีการนวดแผนไทยตามกลุ่มอาการและโรคที่นวดเพื่อการฟื้นฟู
❐ กลุ่มอาการและโรคที่ใช้การนวดแผนไทยนวดเพื่อการฟื้นฟู เช่น ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต
การถนอมรักษาสายตาด้วยตนเองโดยวิธีนวด
❐ การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า 7 ท่า คิดค้นโดย รศ. นพ. กรุงไกร เจนพาณิชย์ มีดังนี้ ท่าเสยผม ท่าทาแป้ง ทาเช็ดปาก ท่าเช็ดคาง ท่ากดใต้คาง ท่าถูหน้าหูและหลังหู และท่าตบท้ายทอย