การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์
- การนวดให้หญิงมีครรภ์ เป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของมารดา ช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายใจระหว่างการตั้งครรภ์
- อาการผิดปกติที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ปวดศีรษะ ท้องผูก จุกเสียดแน่น อาการเท้าบวม ปวดเอว ปวดหลัง อารมณ์ตึงเครียดจากการที่ต้องระมัดระวังตลอดเวลา
- วิธีการนวดสำหรับหญิงมีครรภ์ ได้แก่ การบีบ กด คลึง ลูบไล้
- ประโยชน์ของการนวด คือ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย มีความมั่นใจในขณะคลอด
- ข้อควรระวัง การจัดท่าทางในการนวดก่อนคลอด ต้องให้นวดในท่าตะแคงหรือนั่ง น้ำหนักการกดนวด พิจารณาดูให้เหมาะสม การกดนวดต้องมีจังหวะช้า ๆ ระมัดระวัง การนวดหลังคลอด ระมัดระวังการเคลื่อนไหวของมารดา
การนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมผู้ป่วย
- การนวดสำหรับผู้ป่วย ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังกายกำลังใจที่จะต่อสู้หรือยู่ร่วมกับโรคต่าง ๆ ได้
- อาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วย คือ ปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีกำลัง มีความเครียดและมีความวิตกกังวลกับโรคที่เป็นอยู่
- วิธีการนวดสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ การบีบ คลึง
- ประโยชน์ของการนวด คือ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นและช่วยกระตุ้นระบบประสาท ลดความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ลดความเครียด
- ข้อควรระวัง ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในภาวะอันตรายห้ามนวด ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกหรืออุบัติเหตุทำให้กระดูกแตกหัก ควรนวดสัมผัสเบา ๆ ผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรืออักเสบของอวัยวะ ไม่ควรนวด ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อหรือโรคผิวหนังร้ายแรง ไม่ควรนวด