ภูมิปัญญาการนวดแผนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปรัชญาและแนวคิดของการนวดไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • การนวดพื้นบ้านอีสาน เป็นการรักษาแบบองค์รวม มีวิธีการสร้างองค์ความรู้แบบองค์ความรู้เฉพาะตน สั่งสมประสบการณ์ จดจำวิธีการนวดต่าง ๆ เพื่อสืบทอดให้กับคนในครอบครัว
  • หมอนวดพื้นบ้าน ทางอีสานเรียกว่า หมอเอ็นหรือหมอจับเส้น
  • ตำแหน่งของเส้นในการนวดพื้นบ้านอีสานมี 7 เส้น คือ เส้นบริเวณใบหน้า เส้นคอ เส้นแขน เส้นสันหลัง เส้นขา เส้นสีข้าง และเส้นท้อง
  • กลุ่มอาการที่สามารถบำบัดของหมอนวดพื้นบ้านภาคอีสาน มีดังนี้
    ╰☆ อาการปวดเมื่อย
    ╰☆ อาการกล้ามเนื้อเกร็ง ที่เรียกว่า เส้นเค็ง หรือเอ็นเค็ง เกิดจากการทำงานหนัก
    ╰☆ อาการกล้ามเนื้อเกร็งที่เกิดจากการเคลื่อนไหวไม่ถูกต้อง ที่เรียกว่า ผิดเส้น
    ╰☆ อาการคอหมอน
    ╰☆ อาการปวดหลังที่เกิดจากการเกร็งตัวที่ไม่ใช่จากกระดูกทับเส้นประสาท
    ╰☆ ข้อติด (ข้อไหล่)
    ╰☆ อาการปวดตามหัวเข่า ข้อเท้าเคล็ด ที่เรียกว่า ตีนเค้น
    ╰☆ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียด ที่เรียกว่า เอ็นงอนเค็ง
    ╰☆ อาการปวดท้องที่เกิดจาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมในกระเพาะ ที่เรียกว่า เอ็นท้องเค็ง
    ╰☆ อาการสะบักจม (เอ็นเข้าเจี้ยง)
    ╰☆ อาการขาอ่อนแรง (เอ็นเข้าตานกเอี้ยง)
    ╰☆ อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ขากรรไกรค้าง
  • อาการที่หมอนวดพื้นบ้านไม่นวด คือ ผู้ป่วยอาการตัวเหลือง ตาเหลือง พวกแพ้ยาฉีดหญ้า ท้องเป็นก้อน แดง ร้อนและเจ็บ

รูปแบบวิธีการนวดแผนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • รูปแบบและเทคนิคการนวดพื้นบ้านอีสาน ได้แก่ การกด การดัด การดึง การบีบ การเหยียบ การจกงัด การขิดเส้น การเขี่ยเส้น การคลึงเส้น การยืดเส้น (เหยียดเส้น)
    ╰☆ การจกงัด คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรง ๆ แล้วงัดขึ้น เช่น การรักษาเอ็นเข้าเจี้ยง (สะบักจม)
    ╰☆ การขิดเส้น คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปตรงแล้วดึงออกเร็ว ๆ (คล้ายการจกงัด แต่การจกงัดต้องกดลงให้เจอเส้นแล้วค่อยงัดขึ้น) เพื่อทำให้เส้นที่จมฟูขึ้น
    ╰☆ การเขี่ยเส้น คือ การใช้นิ้วมือเขี่ยเส้นบริเวณร่องสามเหลี่ยมไหปลาร้า
    ╰☆ การคลึงเส้น คือ การใช้อุ้งมือคลึงไปเบา ๆ บริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงตัวมาก ๆ เป็นการคลายกล้ามเนื้อก่อนการกด
    ╰☆ การยืดเส้น (เหยียดเส้น) คือ ขั้นตอนสุดท้ายในการนวด เพื่อยืดกล้ามเนื้อหลังการนวด
  • จุดอันตรายที่ควรระวังในการนวดแผนไทยภาคอีสาน โดยเรียกจุดนี้ว่า จุดรวมเส้น มีทั้งหมด 10 จุด คือ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณใบหน้า ใต้กกหู เรียกว่า จุดตายดับ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณร่องสามเหลี่ยมไหปลาร้า
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณท้ายทอย
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณใต้รักแร้
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณข้อพับศอก
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณก้นกบ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณขาหนีบ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณอวัยวะเพศ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณท้องหรือสะดือ
    ╰☆ จุดรวมเส้นบริเวณข้อพับเข่า
Scroll to top