การรู้จักที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
- ที่แรกตั้งของโรคจำแนกได้ ดังนี้
❐ ธาตุสมุฏฐาน เจ็บป่วยได้ 3 กอง คือ ปิตตะ เสมหะ วาตะ
❐ อุตุสมุฏฐาน จำแนกเป็น 3 อย่างคือ 3 ฤดู 4 ฤดู และ 6 ฤดู
❐ อายุสมุฏฐาน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
❐ กาลสมุฏฐาน แบ่งเป็น 4 ยาม คือ กลางวัน 4 กลางคืน 4
❐ ประเทศสมุฏฐาน จำแนกตามภูมิประเทศ ได้ 4 ประเภท คือ เกิดในที่สูง (ร้อน) เกิดในที่ลุ่ม (เย็น) เกิดในที่มีน้ำเป็นกรวดทราย (อุ่น) เกิดในที่ลุ่ม น้ำเค็ม (หนาว)
❐ การปฏิบัติตน
╰☆ อาหาร
╰☆ อิริยาบถ
╰☆ ความร้อนและเย็น
╰☆ ทรมานร่างกาย คือ อดข้าว น้ำ นอน
╰☆ กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
╰☆ ทำงานเกินกำลังเวลา
╰☆ โศกเศร้าเสียใจ
╰☆ โทสะ
การรู้จักชื่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการนวดแผนไทย
- การจำแนกประเภทของโรค แบ่งได้ 4 ประการ คือ
❐ โรคที่เกิดแก่ทางปัถวีธาตุพิการ
╰☆ เกศา พิการ ทำให้เจ็บ คัน เป็นผื่น เป็นเม็ด ตามหนังศีรษะ และผมร่วง
╰☆ โลมา (ขน) พิการ เกิดตามขุมขนและผิวหนัง อาการเช่นเดียวกับเกศาพิการ
╰☆ นขา (เล็บ) พิการ เจ็บตามเล็บ เล็บเปื่อย เล็บถอด
╰☆ ทันตา (ฟัน) พิการ เป็นโรคที่ฟัน ปวดฟัน ฟันเป็นรำมะนาด แมงกินฟัน เหงือกเป็นหนอง โลหิตออกตามไรฟัน
╰☆ ตโจ (หนัง) พิการ คันตามผิวหนัง ผิวหนังเป็นขุย เป็นสาก หนังเหี่ยวและแสบร้อน
╰☆ มังสัง (เนื้อ) พิการ เนื้อช้ำ เป็นหนองที่เนื้อใต้หนัง เป็นไฝ เป็นหูด
╰☆ นหารู (เอ็น) พิการ ให้รู้สึกตึง รัด ผูกในดวงใจ ให้สวิงสวายและอ่อนหิว
╰☆ อัฐิ (กระดูก) พิการ ปวดกระดูก
╰☆ อัฏฐิมิญชัง (เยื่อกระดูก) พิการ ปวดตามกระดูก ขัดกระดูกภายใน กระดูกชา
╰☆ วักกัง (ม้าม) พิการ ให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว เหลืองตามร่างกาย พุงโร อิดโรย เมื่อกดลงไปที่ตรงข้างกระเพาะอาหารเบื้องซ้าย จะรู้สึกว่าแข็ง ม้ามห้อยย้อย
╰☆ หทยัง (หัวใจ) พิการ ให้อารมณ์เสีย โรคหัวใจ
╰☆ ยกนัง (ตับ) พิการ ตับโต ตับย้อย ตับช้ำ เป็นฝีที่ตับ
╰☆ กิโลมกัง (พังผืด) พิการ ให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ
╰☆ ปิหกัง (ไต) พิการ ให้ขัดในอก ให้มือเท้าเย็น ให้ขัดปัสสาวะหรือปัสสาวะบ่อย
╰☆ ปับผาสัง (ปอด) พิการ ให้กระหายน้ำ ให้ร้อนในอก ให้หอบ ซูบซีด อ่อนเพลีย ให้ไอมีเสมหะ มีหนอง เป็นวัณโรค
╰☆ อันตัง (ลำไส้ใหญ่) พิการ ให้ลงท้อง ให้แน่นท้อง ให้ปวดที่หน้าท้อง
╰☆ อันตคุณัง (ลำไส้เล็ก) พิการ ให้แน่น เฟ้อ เรอ ปวดร้อนในท้อง หน้ามืดตามัว ร้อนคอ ร้อนในท้อง อุจจาระเป็นหนอง
╰☆ อุทริยัง (อาหารใหม่) พิการ ให้จุกเสียดแน่น ผะอืดผะอม สะอึก
╰☆ กรีสัง (อาหารเก่า) พิการ ให้อุจจาระไม่ปกติ ปวดถ่วงช่องทวารหนัก
╰☆ มัตถเก มัตถลุงคัง (สมอง-ไขสันหลัง) พิการ ให้ปวดสมอง หูตึง ตามัว ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มีเมือกน้ำมูกข้น ๆ ตกออกทางจมูก ซึม ไร้ความคิด
❐ โรคที่เกิดแก่ทางอาโปธาตุพิการ
╰☆ ปิตตะ (ดี น้ำดี) มีพิการ 2 ลักษณะ คือ
⇝ พัทธปิตตะ (น้ำดีในฝัก) พิการ ให้คลุ้มคลั่ง ตาขุ่น เป็นสีเขียวที่ตาขาว
⇝ อพัทธปิตตะ (น้ำดีนอกฝัก) พิการ ทำให้ปวดศีรษะ น้ำลายขม ตัวร้อน ตาเหลืองเขียว มีอาการเจ็บไข้
╰☆ เสมหะพิการ มี 3 ลักษณะ คือ
⇝ ศอเสมหะพิการ ให้ไอเจ็บคอ คอแห้ง เป็นหืด แสบคอ
⇝ อุระเสมหะพิการ ให้ผอมเหลือง แสบในอก อกแห้ง มีเสมหะที่ปอด
⇝ คูถเสมหะพิการ ตกอุจจาระ เป็นเสมหะมูกเลือด
╰☆ ปุพโพ (หนอง) พิการ ให้ไอ เบื่ออาหาร ซูบซีด
╰☆ โลหิตัง (เลือด) พิการ ให้อ่อนเพลีย ให้ตัวร้อนจัด คลั่ง เพ้อ ปวดศีรษะอย่างแรง เป็นผื่นเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ปัสสาวะแดง
╰☆ เสโท (เหงื่อ) พิการ ให้สวิงสวาย ตัวเย็นอ่อนเพลีย
╰☆ เมโท (มันข้น) พิการ ให้ผุดเป็นแผ่นตามผิวหนัง เป็นวงเป็นดวง เป็นน้ำเหลืองไหล ปวดแสบปวดร้อน
╰☆ อัสสุ (น้ำตา) พิการ ให้เป็นน้ำตา น้ำหนองไหล ให้น้ำตาแฉะ ทางเดินน้ำตาเน่าเปื่อย
╰☆ วสา (มันเหลว) พิการ ให้ผิวเหลือง ตาเหลือง ให้ลงท้อง
╰☆ เขโฬ (น้ำลาย) พิการ ให้น้ำลาย เปรี้ยว-ขม-หวาน ปากเปื่อยข้างในเป็นเม็ดตามลิ้น
╰☆ สิงฆานิกา (น้ำมูก) พิการ ให้ป่วดสมอง ตามัว น้ำมูกตก
╰☆ ลสิกา (ไข น้ำมันในข้อ) พิการ ให้เจ็บ ขัด ตามข้อกระดูก
╰☆ มุตตัง (น้ำปัสสาวะ) พิการ ให้ปัสสาวะขุ่นขาว เหลืองแก่ แดง ดำ และดินเป็นตะกอน
❐ โรคที่เกิดแก่ทางวาโยพิการ
╰☆ อุทธังคมาวาตา (ลมขึ้นเบื้องบน) พิการ ให้สับสน ร้อนในท้อง หาวเรอ
╰☆ อโธคมาวาตา (ลมลงเบื้องล่าง) พิการ ให้อ่อนเพลีย ยกมือยกเท้ามิขึ้น ปวดเมื่อยตามข้อกระดูก
╰☆ โกฏฐสยาวาตา (ลมในลำไส้ กระเพาะ) พิการ ให้แน่นหน้าอก จุกเสียด คลื่นเหียนอาเจียน เบื่ออาหาร
╰☆ กุจฉิสยาวาตา (ลมนอกลำไส้) พิการ ให้ท้องลั่น หัวใจสั่น และปวดเมื่อย
╰☆ อังคมังคานุสสริวาตา (ลมทั่วร่าง) พิการ ให้ตาพร่าพราว วิงเวียน เจ็บ 2 หน้าขาและกระดูกสันหลัง สะบัดร้อนสะบัดหนาว อาเจียนลมเปล่า
╰☆ อัสสาสะปัสสาสะวาตา (ลมหายใจ) พิการ ให้หายใจไม่ออก หายใจสั่น หายใจเจ็บ-ยอก
❐ โรคที่เกิดแก่ทางเตโชพิการ
╰☆ สันตัปปัคคี (ไฟอุณหภูมิร่างกาย) พิการ ทำให้กายเย็นชืด
╰☆ ปริณามัคคี (ไฟต้านทาน) พิการ ให้ขัดข้อมือ ข้อเท้า ปวดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ท้องแข็ง ไอ
╰☆ ชิรณัคคี (ไฟเผาผลาญ) พิการ ทำให้ร่างกาย ไม่รู้สึกสัมผัส ไม่รู้กลิ่น ไม่รู้รส
╰☆ ปริทัยหัคคี (ไฟย่อยอาหาร) พิการ ทำให้ร้อนใน เย็นภายนอก มือเท้าเย็นเหงื่อออก
การรู้จักความรู้พื้นฐาน หลักการและวิธีการนวดแผนไทย
สิ่งจำเป็นที่ผู้นวดต้องเรียนรู้และปฏิบัติ มี 7 ข้อ ดังนี้
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์
- ความรู้ในการค้นหาต้นเหตุ (สมุฏฐาน) ของโรค
- หลักการพื้นฐานในการนวดแผนไทย
╰☆ การนวด
╰☆ การกดเส้น
╰☆ การคลายเส้น
╰☆ การตรวจลมและเส้น - วิธีการนวดแผนไทย
╰☆ วิธีการกด มักใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย ข้อเสีย คือ ถ้ากดนาน จะทำให้หลอดเลือดเป็นอันตรายได้
╰☆ วิธีการคลึง ใช้นิ้วหัวแม่มือหรือสันมือเพิ่มออกแรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อ หรือคลึงเป็นวงกลม ข้อเสีย คือ ถ้าคลึงรุนแรง อาจทำให้เส้นเลือดฉีกขาด หรือถ้าโดนเส้นประสาท จะทำให้เกิดรู้สึกเสียวแปลบ
╰☆ วิธีการบีบ เป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือ แล้วออกแรงบีบ ข้อเสีย เช่นเดียวกับการกด
╰☆ วิธีการดึง เป็นการออกแรงเพื่อที่จะยึดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไปออก ข้อเสีย คือ อาจทำให้เส้นเอ็นหรือพังผืดที่ฉีกขาดอยู่ ขาดมากขึ้น ไม่ควรดึงในขณะที่มีอาการแพลงของข้อต่อ ต้องรออย่างน้อย 14 วันหรือ 2 สัปดาห์จึงจะดึงได้
╰☆ วิธีการบิด เป็นการออกแรงเพื่อหมุนข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ให้ยืดออกทางด้านขวาง ข้อเสีย คล้ายกับการดึง
╰☆ วิธีการดัด เป็นการออกแรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ปกติ ข้อเสีย คือ อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ถ้าผู้ป่วยไม่ผ่อนกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อนั้น กรณีผู้ป่วยเป็นอัมพาตมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่ควรทำการดัด
╰☆ วิธีการตบ ตี ทุบ หรือการสับ เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ มักใช้กับบริเวณหลัง เพื่อช่วยอาการปวดหลัง คอ หรือช่วยในการขับเสมหะเวลาไอ ข้อเสีย คือ ทำให้กล้ามเนื้อบอบช้ำและบาดเจ็บได้
╰☆ วิธีการเหยียบ เป็นวิธีการที่นิยมทำกันโดยให้เด็กหรือผู้อื่นขึ้นไปเหยียบหรือเดินอยู่บนหลัง ข้อเสีย คือ เป็นท่านวดที่อันตรายมาก - ข้อควรพิจารณาในการนวด สรุปได้ดังนี้ ท่าทาง การวางมือและนิ้วลงจุดที่ตำแหน่ง แรงที่ใช้กด เวลาที่กำหนดเป็นคาบ ควรจะทราบจุดก่อนหลัง ทั้งการนวดซ้ำแต่ละที อีกทั้งมีระยะถี่ ต้องนวดที่ละกี่ครั้ง พร้อมทั้งคำแนะนำที่แยบยล มีการติดตามผลที่สัมฤทธิ์ อย่าลืมคิดถึงข้อห้ามและข้อระวัง
- แนวทางปฏิบัติตัวของผู้นวด ควรสังวรในเรื่องการปฏิบัติตน
╰☆ วิธีปฏิบัติเมื่อปวดนิ้วมือหลังการนวด คือ แช่มือในน้ำอุ่น นวดและคลึงบริเวณเนินกล้ามเนื้อของฝ่ามือและรอบนิ้วมือ ใช้ปลายเล็บจิกที่บริเวณข้อนิ้วทั้ง 2 ด้าน - มารยาทในการนวด
การรู้จักจุดนวดเฉพาะโรคในการนวดแผนไทย
จุดนวดเฉพาะโรคที่สำคัญ ได้แก่ จุดนวดแก้ปวดศีรษะ จุดนวดแก้ปวดเมื่อยคอ จุดนวดแก้ปวดเมื่อยไหล่ จุดนวดแก้ปวดเมื่อยหลัง จุดนวดแก้ปวดเมื่อยแขน จุดนวดแก้ปวดเมื่อยเข่า จุดนวดแก้ปวดเมื่อยขา