โรคลม ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์แพทย์แผนโบราณนี้ กล่าวถึงประเภทลมบังเกิดโทษ อาการ และการใช้ยารักษา ซึ่งกล่าวรายละเอียดไว้ในคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
คัมภีร์ชวดาร กล่าวถึง ลมที่บังเกิดโทษแต่มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรคต่างๆ ก็อาศัยโลหิต และลม บังเกิดโทษให้ถึงตายเป็นอันมากนั้น เพราะแพทย์ไม่ได้กำหนดรู้ อุปมาเหมือนนายเรืออันประมาทในท้องมหาสมุทร ลมพัดเรือแตกอับปางก็เป็นเหยื่อแก่มัจฉา เป็นอันมาก ลมที่ให้โทษแก่มนุษย์ คือ
- ลมอุทธังคมาวาตา พัดขึ้นเบื้องบน ตั้งแต่สะดือ ถึงศีรษะ
- ลมอโธคมาวาตา พัดลงเบื้องต่ำ ตั้งแต่ใต้สะดือ ถึงปลายเท้า
ถ้าหากลมทั้ง 2 ระคนกันเข้าเมื่อใด โลหิตนั้นร้อนประดุจกันกับไฟ อันเกิดได้วันละ 100 ละ 1,000 หน อาการ 32 ก็พิกล พรากจากที่อยู่เตโชธาตุก็ไม่ปกติ เหตุที่ลมทั้ง 2 ระคนกันได้ ให้โทษแก่มนุษย์ทั้งหลาย ก็เพราะมนุษย์ทั้งหายได้บริโภคอาหารไม่ได้เสมอตามปกติ คือ บางจำพวก มากกว่าอิ่ม คือ กินมากไป บางจำพวก ดิบ เน่า บูด หยาบ น้อยยิ่งนัก บางจำพวกล่วงผิดเวลา อยากเนื้อผู้อื่นยิ่งนัก อาหาร 8 จำพวกนี้ เป็นอาหารให้โทษ ใช่แต่เท่านั้น บุคคลบางจำพวกถูกร้อนมาก และถูกเย็นมาก เพราะเหตุดังกล่าวนี้ ลมอโธคมาวาตา จึงพัดขึ้นไปหาลมอุทธังคมาวาตา บางทีลมอุทธังคมาวาตาจึงพัดให้โลหิตเป็นฟอง อาการ 32 จึงเคลื่อนจากที่อยู่
ลมเกิดขึ้นในทิศเบื้องต่ำ คือ ลมอัมพฤกษ์ และลมอัมพาต ลมทั้ง 2 นี้ บังเกิดแต่ปลายแม่เท้าไปตราบเท่าเบื้องบน ทำให้หวาดหวั่นไหวไปทั่วทั้ง 6 สรีระกายย่อมถึงแก่พินาศเป็นอันมาก ลมอัมพฤกษ์และลมอัมพาตทั้ง 2 นี้ เป็นที่ตั้งแห่งฐานลมทั้งหลาย อันบังเกิดได้วันละ 100 และ 1,000 ครั้ง
ถ้าลมทั้ง 2 ระคนกันแล้วเมื่อใด รักษาเยียวยายากนัก เพราะอาศัยลมอันหนึ่งชื่อ ”หทัยวาตะ” เกิดขึ้นในน้ำเลี้ยงหัวใจบุคคลใดจะตาย ลมหทัยวาตะ ก็เกิดขึ้นในขณะนั้น
ลมมีพิษมาก 6 จำพวก
ดังนี้:-
- ลมกาฬสิงคลี
จับให้หน้าเขียว ขอบตาเขียว บางทีจับให้ใจสั่น บางทีให้ถอนหายใจฮึดฮือ บางทีดิ้นดุจตีปลา ให้ผุดเป็นวงดำ เป็นวงเขียว วงเหลือง เท่าใบพุทรา เท่าแว่นน้ำอ้อยงบ กำหนด 3 วัน - ลมชิวหาสดมภ์
เมื่อแรกให้หาวเรอ และให้เหียน ขากรรไกรแข็ง อ้าขบไม่ลง ให้แน่นิ่งไป ไม่รู้สึกตัว ปลุกไม่ตื่น กำหนด 3 วันถึง 7 วัน - ลมมหาสดมภ์
เมื่อจับ ให้หาวนอนเป็นกำลัง ให้หวาดหวั่นไหวอยู่แต่ใจใจ ให้นอนแน่นิ่งไป ไม่รู้สึกกายเลย - ลมทักษิณโรธ
เป็นไข้อันไดๆ อยู่ก่อนแล้วจับเท้าเย็นมือเย็น ตามัว ห้ามไม่ให้วางยาผาย ดิ้นรนหยุดอยู่ไม่ได้ เจรจาไม่ได้ ลิ้นกระด้างคางแข็ง แก้ให้จงดี ( ลมในกองไข้) - ลมตติยาวิโรธ
เมื่อจับให้มือเท้าเย็น เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง ให้จุกท้องเหมือนสัตว์ตอดสัตว์กัด บางทีปวดตั้งแต่แม่เท้าขึ้นมาถึงหัวใจ นิ่งแน่ไปดุจดังถูกพิษงูเห่า
- ลมอีงุ้มอีแอ่น
เมื่อล้มไข้เหมือนสันนิบาต เมื่อจับอีงุ้มงอไปข้างหน้า อีแอ่นงอไปข้างหลัง ถ้าลั่นเสียงดังเผาะเมื่อใด ตายเมื่อนั้น
ลมมีพิษ อีก 6 จำพวก
- ลมอินทรธนู
เมื่อจับไข้เหมือนดังรากสาด เป็นวงล้อม สะดือดำ สะดือแดง สะดือเขียว สะดือเหลือง เท่าวงน้ำอ้อยงบ แต่ชายโครง ตลอดจนหน้าผาก พิษนั้นอื้อคะนึงอยู่แต่ในใจดังผีเข้าอยู่ ถ้าผู้หญิงเป็นซ้าย ชายเป็นขวา อาการตัด ( ลมในกองไข้) - ลมกุมภัณฑยักษ์
ถ้าลัมไข้ดุจดังสันนิบาต เมื่อจับให้ชัก มือกำ ชักเท้างอ มิได้สติสมปฤดี เรียกมิรู้สึกตัวเลย
กำหนด 11 วัน (ลมในกองไข้)
- ลมอัศมุขี
เป็นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ให้ดิ้นร้องไป แล้วชักแน่นิ่งไป ไม่สมปฤดี
- ลมราทยักษ์
เมื่อล้มไข้ลงดุจดังสันนิบาต เมื่อจับให้มือกำชักเท้ากำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง กำหนด 11 วัน (ลมในกองไข้) - ลมบาดทะจิต
เมื่อล้มไข้ลงดุจดังสันนิบาต แรกจับให้ละเมอเพ้อพก ว่านั้นว่านี่ ทำอาการ ดุจปิศาจเข้าสิงอยู่ บางทีว่าบ้าสันนิบาต เหตุเพราะ จิตระส่ำระสาย กำหนด 11 วัน - ลมพุทธยักษ์
จับชักระสับกระส่าย ให้ขบฟันเหลือกตา มือกำเท้างอ ปากเบี้ยว ตาแหก แยกแข้งแยกขา ไม่มีสติสมปฤดี
ลม 6 จำพวกนี้ เยียวยายากนัก เป็นปัจฉิมที่สุดโรค
ให้ตรวจดูทางทวารหนัก ทวารเบา ถ้ายังอุ่นอยู่ ให้แก้ต่อไป อนึ่ง เอานิ้วมือกดลงแล้วยกขึ้นดู หาโลหิตไม่ได้ รอยนิ้วกดแล้วยกขึ้นไป เป็นรอยเขียวซีด อาการหนักมาก ( อาการตัด)
อนึ่ง ในคัมภีร์มหาโชตรัต และคัมภีร์มหาชัยรัต กล่าวไว้ว่า โลหิตให้โทษแก่สตรีคลอดบุตร และชายต้องบาดแผลโลหิตตีขึ้นให้ถึงแก่กรรมตายเป็นอันมาก โลหิตทำพิษตีขึ้น ดังนี้ ” ในคัมภีร์ชวดาร” ว่าแต่กำลังโลหิต โลหิตก็ไม่ให้โทษ อนึ่งให้พิจารณาว่า ลมเกิด ณ ที่ใด ถ้าเกิดในเส้น ในเนื้อ และโลหิต กระดูก ผิวหนัง และหัวใจ จึงพิจารณาลมนั้นก่อน แล้วจึงพิจารณายาที่จะรักษาต่อไป และให้ประกอบยารักษาตามอาการนั้นๆ
ลมพิเศษ (ลมทั่วไป)
- ลมปถวีกำเริบ
ลมพัดอาโปธาตุเป็นฟอง สำแดงโทษ บวมทุกสถาน - ลมพัดในลำไส้
ให้เป็นลูกกลิ้งอยู่ในท้อง ให้จุกอกเสียดแทงตามชายโครงทั่วสรรพางค์กาย และเสียดหัวใจ (กลิ้งขึ้นกลิ้งลง) - ลมเข้าในลำไส้ใหญ่ และลำไส้น้อย
มักชักให้มือกำ ชักเท้า ตัวแข็งงอ จะบีบเข้าก็ไม่ได้ จับสิ่งอันใดก็ไม่ได้ สมมุตว่า ลมตะคริว - ลมบาทาทึบ
ทั้งสลบทั้งลง ทั้งอาเจียน ไม่รู้ว่าสันนิบาตสองคลอง ให้มือเขียว หน้าเขียว ให้ชักไม่รู้ว่าป่วง ให้ลง กำหนด 3 วัน - ลมพานไส้
อาการให้อาเจียน ให้จุกอก ถ้าเป็นถึง 7 เดือน มักเป็นตัวเสียด อยู่ซี่โครงข้างซ้าย ให้ผอมเหลือง พอใจอยากของดิบคาว ครั้นถึง 3 ปี จะตาย - ลมสูบพิษในลำไส้
ให้เวียนหัว อาเจียน จุกอก ให้ปากหวาน และเปรี้ยว ถ้าเป็นแก่บุคคลผู้ใด นานเข้ากลายเป็นตัว เข้าเสียดชายโครงข้างซ้าย ครั้นนานหนักเข้าให้ผอมเหลือง - ลมตุลาราก
มักเกิดแต่คอหอย ให้เหม็นคาวคอ ถ่มน้ำลายอยู่บ่อยๆ จะหายใจให้ขัดอก ถ้าเกิดแก่บุคคลผู้ใด ได้ 5 เดือน เสียตา จึงหาย - ลมกระษัยจุกอก
มักกลายเป็นบิด และโลหิต และเสมหะ - ลมกำเดา
ให้วิงเวียน จักษุลาย จักษุมืด จักษุฝ้า และขาว ให้ศีรษะหนักซุนไป และเจ็บศีรษะ เจ็บตา โทษลม ระคนกำเดา - ลมผูกธาตุให้เป็นพรรดึก
ครั้นนานไป ก็กลายเป็นเสมหะกลัดเข้าให้ผอมแห้ง กายเหลือง ครั้นต่อไปนานก็กลายเป็นหอบ ไอ กินนมไม่ได้ อาโปธาตุกำเริบ ทำให้บวม แพทย์ไม่รู้ว่าเป็นริดสีดวง
ยารักษาลมที่สำคัญ (ยาแก้ลม)
- ยาจิตรารมณ์
- ยากล่อมอารมณ์
- ยาวาตาพินาศ
- ยาเขียวประทานพิษ
- ยาชุมนุมวาโย
- ยามหาสมมิทธิ์ใหญ่
- ยาหอมสรรพคุณ
- ยาสมมิทธิ์น้อย
- ยานัตถุ์ธนูกากะ
- ยาประสะการบูร