การที่จะตรวจวินิจฉัยโรคใดนั้น จะต้องรู้อาการไข้ รู้ประวัติ และสาเหตุที่เจ็บป่วย จึงจะทำให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร แก้ไขด้วยวิธีใด จึงจะต้องมีวิธีตรวจไข้ โดยพิจารณาจากสิ่งแวดล้อมนอกร่างกาย ได้แก่ ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ดังรายละเอียดตามคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงการค้นสาเหตุแห่งไข้ หรือการพยากรณ์โรค และไข้ต่างๆ โดยกล่าวถึงกองพิกัดสมุฏฐาน 4 ประการคือ
- ธาตุสมุฎฐาน
- ฤดูสมุฎฐาน
- อายุสมุฎฐาน
- กาลสมุฎฐาน
สมุฏฐานทั้ง 4 ประการนี้ แพทย์ทั้งหลายพึงเรียนรู้แจ้ง เพราะเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรค และภูมิแพทย์ทั้งปวง แพทย์ใดไม่ได้รู้แจ้ง แพทย์นั้นชื่อว่า “มิจฉาญาณแพทย์” แพทย์ใดประกอบด้วยวิจารณปัญญารู้แจ้ง แพทย์นั้นชื่อว่า “เสฎฐญาณแพทย์”
กองพิกัดสมุฏฐาน 4 ประการ และเป็นมหาพิกัดสมุฏฐาน มีดังนี้
ก็อาศัย พัทธปิตตะ (ดีในฝัก) อพัทธปิตตะ (ดีนอกฝัก) กำเดา (เปลวแห่งความร้อน) ทั้ง 3 อย่างนี้ให้เป็นเหตุในกองเตโชธาตุ พิกัดสมุฏฐานกองหนึ่ง
พิกัดปิตตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ
พิกัดปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ
พิกัดวาตะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ(4) สาระทะฤดู นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
พิกัดวาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ
พิกัดเสมหะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ
พิกัดเสมหะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนให้เป็นเหตุ
3. อายุสมุฏฐาน แบ่งออกเป็นได้ 3 วัย ดังนี้
3.1) ปฐมวัย (พาลทารก หรือวัยทารก)
นับแต่คลอดจากครรภ์มารดา จนอายุได้ 16 ปี เสมหะเป็นเจ้าเรือน เจือไปในสมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งหลาย คือ หมายความว่า ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 16 ปี เป็นอายุแห่งเสมหะ ถ้าบังเกิดโรคมีกำลัง 12 องศาเป็นกำหนด ถ้าเป็นโรคสิ่งใดให้ตั้งเสมหะ เป็นต้น วาตะเป็นที่สุด
3.2) มัชฌิมวัย (พาลปานกลาง หรือวัยกลางคน)
นับตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปจนถึง 30 ปี ปิตตะเป็นเจ้าเรือนย่อมเจือไปในสมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งหลาย คือ หมายความว่า ตั้งแต่อายุ 16 – 30 ปี เป็นอายุแห่งปิตตะ ถ้าจะบังเกิดโรคมีกำลัง 7 องศาเป็นกำหนด ถ้าเป็นไข้ลงในอายุสมุฏฐานนี้ ให้ตั้งปิตตะ เป็นต้น เสมหะเป็นที่สุด
3.3) ปัจฉิมวัย (พาลผู้เฒ่า หรือวัยผู้เฒ่า)
นับตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป จนถึงอายุขัย วาตะเป็นเจ้าเรือนเจือไปในสมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งหลาย คือ หมายความว่า ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ถึงสิ้นอายุขัยเป็นอายุแห่งวาตะถ้าบังเกิดโรคมีกำลัง 10 องศา ถ้าเป็นไข้ลงในอายุสมุฏฐานนี้ให้ตั้ง วาตะ เป็นต้น ปิตตะเป็นที่สุด
1) ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึง 4 โมงเช้า (06.00 น. – 10.00 น.) เป็นพิกัดเสมหะกระทำ
2) ตั้งแต่ 4 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง (11.00 น. – 14.00 น.) เป็นพิกัดปิตตะกระทำ
3) ตั้งแต่บ่าย 2 โมงถึงย่ำค่ำ (15.00 น. – 18.00 น.) เป็นพิกัดวาตะกระทำ
4.2) กาล 3 กลางคืน
1) ตั้งแต่ย่ำค่ำจนถึง 4 ทุ่ม (18.00 น. – 22.00 น.) เป็นพิกัดเสมหะ กระทำ
2) ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงตี 2 (23.00 น. – 02.00 น.) เป็นพิกัดปิตตะกระทำ
3) ตั้งแต่ตี 2 ถึงย่ำรุ่ง (03.00 น. – 06.00 น.) เป็นพิกัดวาตะกระทำ
หมายเหตุ ช่วงระยะเวลาในกาลสมุฏฐานนี้ อ้างอิง ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
เสมหะ ปิตตะ และวาตะกำเริบ ในกาลดังนี้
- เสมหะกำเริบ ในกาลเมื่อเช้าก็ดีืเมื่อบริโภคอาหารแล้วก็ดี ในเมื่อพลบค่ำก็ดี เป็นกระทรวง (ส่วน) กาลสมุฏฐานเสมหะกระทำ
- ปิตตะกำเริบ ในกาลเมื่อตะวันเที่ยงก็ดี ในกาลเมื่ออาหารยังไม่ย่อยยับก็ดี ในกาลเมื่อเที่ยงคืนก็ดี เป็นกระทรวง (ส่วน) กาลสมุฏฐานปิตตะกระทำ
- วาตะกำเริบ ในกาลเมื่อบ่ายก็ดี ในกาลเมื่ออาหารย่อยแล้ว และในกาลเมื่อนอนหลับ เป็นกระทรวง (ส่วน) กาลสมุฏฐานวาตะกระทำ
กล่าวโดยพิสดารในฤดูสมุฏฐาน 3
คือ ตั้งแต่แรมค่ำ 1 เดือน 4 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 (120 วัน) เป็นพิกัดแห่งปิตตะ ใช่จะทำเต็มทั้ง 4 เดือนหามิได้ แบ่งออกโดยพิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้:-
ท่านจึงจัดไว้ว่าใน 4 เดือนนี้เป็นกำหนดคิมหันตสมุฏฐานแห่งกำเดา ด้วยว่ากำเดานี้คือเปลวแห่งวาโย โลหิต เสมหะ และสรรพสมุฏฐานทั้งปวง จะวิบัติ หรือไม่วิบัตินั้นก็อาศัยแห่งสมุฏฐานเป็นที่บำรุงว่าจะให้วัฒนะ หรือหายนะโดยแท้
คือ ตั้งแต่แรมค่ำ 1 เดือน 8 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 (120 วัน) เป็นพิกัดวาตะสมุฎฐาน แต่ว่าวาตะจะกระทำเต็มที่ทั้ง 4 เดือนหามิได้ แบ่งออกโดยวิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้:-
คือ ตั้งแต่แรมค่ำ 1 เดือน 12 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 (120 วัน) เป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฏฐาน แต่เสมหะจะได้ทำเต็มทั้ง 4 เดือนนั้นหามิได้ แบ่งออกโดยพิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้:-
ท่านจึงจัดไว้ว่า 4 เดือนนี้เป็นเหมันตสมุฏฐาน เป็นสมุฏฐานแห่งเสมหะ คือ คูถเสมหะ ด้วยว่าคูถเสมหะนี้เป็นหลักแห่งสมุฏฐาน ซึ่งจะวิบัตินั้น ก็อาศัยแห่งสมุฏฐานนั้นเป็นที่บำรุง อาจจะให้วัฒนะ และหายนะได้โดยแท้ ดุจท่านตราลงไว้ให้แจ้งเป็นมหาพิกัดสมุฏฐานฤดู 3 หมวดหนึ่ง
กล่าวโดยพิสดารในฤดูสมุฏฐาน 6
รวมเป็น 3 ส่วน จตุกาลเตโช (ธาตุไฟ 4) เจือกระทบให้พัทธปิตตะสมุฏฐานเจ้าเรือนจลนะ (เคลื่อนไป) ยิ่งขึ้น ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
วาตะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน อพัทธะปิตตะระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน จตุกาลเตโช (ธาตุไฟ 4) เจือกระทบพัทธะปิตตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
2.2) ตั้งแต่ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ไปจนถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 7 (20 วัน) เป็นพิกัดพัทธปิตตะสมุฏฐาน
วาตะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน กำเดาระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน จตุกาลเตโช (ธาตุไฟ 4) เจืออพัทธปิตตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าใหเสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
ปิตตะสมุฏฐานระคน 1 ส่วน สัตถกวาตะระคน 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ฉกาลวาโย (ธาตุลม 6) เจือกระทบหทัยวาตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
ปิตตะสมุฏฐานระคน 1 ส่วน สุมนาวาตะระคน 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ฉกาลวาโย (ธาตุลม 6) เจือกระทบสัตถกวาตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
เสมหะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน สัตถกะวาตะระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ฉกาลวาโย (ธาตุลม 6) เจือกระทบหทัยวาตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
เสมหะสมุฏฐานระคน 3 ส่วน สัตถกวาตะระคนไม่ควรแก้ ฉกาลวาโย (ธาตุลม 6) เจือกระทบสุมนาวาตะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
วาตะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน อุระเสมหะระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน กาลทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ 12) เจือกระทบศอเสมหะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
วาตะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน คูถเสมหะระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน กาลทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ 12) เจือกระทบอุระเสมหะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
ปิตตะสมุฏฐานระคน 1 ส่วน อุระเสมหะระคน 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน กาลทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ 12) เจือกระทบศอเสมหะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
ปิตตะสมุฏฐานระคน 2 ส่วน คูถเสมหะระคน 1 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน กาลทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ 12) เจือกระทบอุระเสมหะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
ปิตตะสมุฏฐานระคน 3 ส่วน อุระเสมหะระคนไม่ควรแก้ ทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ 12) เจือกระทบคูถเสมหะเจ้าเรือนให้จลนะ (เคลื่อนไป) ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเจ้าของเดิม 3 ส่วน แก้เจือตามระคนโดยพิกัด
สรุปมหาพิกัดในสมุฏฐานแห่งฤดู 3
ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4 ไปจนถึงขึ้น15 เดือน 8 (120 วัน)
เป็นพิกัดแห่งปิตตะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็นพิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้
3) กำเดา 40 วัน
ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 (120 วัน)
เป็นพิกัดแห่งวาตะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็นพิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้
ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 ไปจนถึงขึ้น 15 เดือน 4 (120 วัน)
เป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฎฐาน แบ่งออกเป็นพิเศษสมุฏฐานละ 3 ดังนี้
2) อุระเสมหะ 40 วัน
3) คูถเสมหะ 40 วัน
สรุปกล่าวโดยพิสดารในฤดูสมุฏฐาน 6
2.อพัทธะปิตตะ 20 วัน
3.กำเดา 20 วัน
2.อพัทธปิตตะ 20 วัน
3.กำเดา 20 วัน
2.สัตถกวาตะ 20 วัน
3.สุมนาวาตะ 20 วัน
2.สัตถกวาตะ 20 วัน
3.สุมนาวาตะ 20 วัน
2.อุระเสมหะ 20 วัน
3.คูถเสมหะ 20 วัน
2.อุระเสมหะ 20 วัน
3.คูถเสมหะ 20 วัน
สันนิบาต
1. ปิตตะ มีกำลัง 7 องศา (7 วัน)
2. วาตะ มีกำลัง 10 องศา (10 วัน)
3. เสมหะ มีกำลัง 12 องศา (12 วัน)
โรคปิตตะเจือติดไป 1 ส่วน เสมหะเจือไป 2 ส่วน จนถึง 10 องศา ระคนกันเข้าทั้ง 3 สมุฏฐาน เป็น 29 องศา ยังไม่ถอย และคลายลง พอรุ่งขึ้นเป็น 30 องศาแล้วจึงตกไประหว่างสันนิบาต จึงเรียกว่าเป็นสันนิบาตโทษ 3 ได้แก่
(1) ตั้งแต่ย่ำรุ่ง ถึง 1 โมงเช้า (06.00-07.00)
วาตะใกล้รุ่งเจือระคน 1 ส่วน
ไม่มีอะไรระคน
ไม่มีอะไรระคน
ปิตตะ 1 ส่วน
1.2) กาลเอกโทษปิตตะ
(1) ตั้งแต่ 4 โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า (10.00-11.00)
เสมหะ 1 ส่วน
ไม่มีอะไรระคน
ไม่มีอะไรระคน
วาตะ 1 ส่วน
1.3) กาลเอกโทษวาตะ
(1) ตั้งแต่ บ่าย 2 โมง ถึง บ่าย 3 โมงเช้า (14.00-15.00)
ปิตตะ 1 ส่วน
ไม่มีอะไรระคน
ไม่มีอะไรระคน
เสมหะ 1 ส่วนหมายเหตุ อันนี้เป็นพิกัดสมุฏฐานวาตะในเวลาเย็น 4 ชั่วโมง
กลางคืนให้แบ่ง 3 ฐานดุจเดียวกัน รวมเป็น 6 สมุฏฐาน เรียกว่า กองธาตุกาลเอกโทษ สมุฏฐานพิกัดหมวดหนึ่ง
คือ โทษ 2 อย่างระคนกัน จะมีอย่างที่ 3 มาระคนก็เป็นส่วนน้อย
และมีเวลาของกาลนั้นทำอยู่ในโอกาสหนึ่ง จะไม่มีอะไรระคน
(1) ตั้งแต่ ย่ำรุ่ง ถึง 1 โมงเช้า (06.00-07.00)
เสมหะ 1 ส่วน
วาตะ 2 ส่วน
(2) ตั้งแต่ 1 โมงเช้า ถึง 2 โมงเช้า (07.00-08.00)
เสมหะ 2 ส่วน
วาตะ 1 ส่วน
(3) ตั้งแต่ 2 โมงเช้า ถึง 3 โมงเช้า (08.00-09.00)
เสมหะ 2 ส่วน
ปิตตะ 1 ส่วน(4) ตั้งแต่ 3 โมงเช้า ถึง 4 โมงเช้า (09.00-10.00)
เสมหะ 1 ส่วน
ปิตตะ 2 ส่วน
2.2) ปิตตะทุวันโทษ
(1) ตั้งแต่ 4 โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า (10.00-11.00)
ปิตตะ 1 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วน
(2) ตั้งแต่ 5 โมงเช้า ถึง เที่ยง (11.00-12.00)
ปิตตะ 2 ส่วน
เสมหะ 1 ส่วน
(3) ตั้งแต่ เที่ยงถึง บ่ายโมง (12.00-13.00)
ปิตตะ 2 ส่วน
วาตะ 1 ส่วน
(4) ตั้งแต่ บ่ายโมง ถึงบ่าย 2 โมง (13.00-14.00)
ปิตตะ 1 ส่วน
วาตะ 2 ส่วน
2.3) วาตะทุวันโทษ
(1) ตั้งแต่ บ่าย 2 โมง ถึง บ่าย 3 โมงเช้า (14.00-15.00)
วาตะ 1 ส่วน
ปิตตะ 2 ส่วน
(2) ตั้งแต่ บ่าย 3 โมง ถึง บ่าย 4 โมง (15.00-16.00)
วาตะ 2 ส่วน
ปิตตะ 1 ส่วน
(3) ตั้งแต่ บ่าย 4 โมง ถึง บ่าย 5 โมง (16.00-17.00)
วาตะ 2 ส่วน
เสมหะ 1 ส่วน
(4) ตั้งแต่ บ่าย 5 โมง ถึง ย่ำค่ำ (17.00-18.00)
วาตะ 1 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วนหมายเหตุ กลางคืนให้แบ่งดุจเดียวกัน จัดเป็นกองจลนะสมุฏฐานทุวันโทษหมวดหนึ่ง
คือ โทษ 3 อย่างระคนกันไปโดยตลอด จะได้มีช่องอย่างใดอย่างหนึ่งมากระทำมิได้ ย่อมระคนกันอยู่ตลอดไปทั้ง 3 อย่าง
(1) ตั้งแต่ ย่ำรุ่ง ถึง 1 โมงเช้า (06.00-07.00)
เสมหะ 1 ส่วน
วาตะ 4 ส่วน
ปิตตะ 1 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วน
วาตะ 3 ส่วน
ปิตตะ 2 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วน
วาตะ 2 ส่วน
ปิตตะ 3 ส่วน(4) ตั้งแต่ 3 โมงเช้า ถึง 4 โมงเช้า (09.00-10.00)
เสมหะ 1 ส่วน
วาตะ 1 ส่วน
ปิตตะ 4 ส่วน
3.2) ตรีโทษปิตตะ
(1) ตั้งแต่ 4 โมงเช้า ถึง 5 โมงเช้า (10.00-11.00)
ปิตตะ 1 ส่วน
เสมหะ 4 ส่วน
วาตะ 1 ส่วน
(2) ตั้งแต่ 5 โมงเช้า ถึง เที่ยง (11.00-12.00)
ปิตตะ 2 ส่วน
เสมหะ 3 ส่วน
วาตะ 2 ส่วน
(3) ตั้งแต่ เที่ยงถึง บ่ายโมง (12.00-13.00)
ปิตตะ 2 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วน
วาตะ 3 ส่วน
(4) ตั้งแต่ บ่ายโมง ถึง 2 โมง (13.00-14.00)
ปิตตะ 1 ส่วน
เสมหะ 1 ส่วน
วาตะ 4 ส่วน
3.3) ตรีโทษวาตะ
(1) ตั้งแต่ บ่าย 2 โมงถึงบ่าย 3 โมงเช้า (14.00-15.00)
วาตะ 1 ส่วน
ปิตตะ 4 ส่วน
เสมหะ 1 ส่วน
(2) ตั้งแต่ บ่าย 3 โมง ถึง บ่าย 4 โมง (15.00-16.00)
วาตะ 2 ส่วน
ปิตตะ 3 ส่วน
เสมหะ 2 ส่วน
(3) ตั้งแต่ บ่าย 4 โมง ถึง บ่าย 5 โมง (16.00-17.00)
วาตะ 2 ส่วน
ปิตตะ 2 ส่วน
เสมหะ 3 ส่วน
(4) ตั้งแต่ บ่าย 5 โมง ถึง ย่ำค่ำ (17.00-18.00)
วาตะ 1 ส่วน
ปิตตะ 1 ส่วน
เสมหะ 4 ส่วนหมายเหตุ กลางคืนให้แบ่งดุจเดียวกัน จัดเป็นกองภินนะสมุฏฐานตรีโทษหมวดหนึ่ง
1. พระอาทิตย์สถิตย์ในราศีเมษ สิงห์ ธนู เป็นราศีของเตโชธาตุ
2. พระอาทิตย์สถิตในราศี พฤษภ กันย์ มังกร เป็นราศีของปถวีธาตุ
3. พระอาทิตย์สถิตในราศี เมถุน ตุลย์ กุมภ์ เป็นราศีของวาโยธาตุ
4. พระอาทิตย์สถิตในราศี กรกฎ พิจิก มีน เป็นราศีของอาโปธาตุ
1) เตโชธาตุกำเริบ ตั้งแต่แรมค่ำ 1 เดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 5
พระอาทิตย์สถิตในราศีเมษ เตโชธาตุสมุฏฐานกำเริบ
พัทธปิตตะ (ดีในฝัก) ระคนให้เป็นเหตุ
2) เตโชธาตุหย่อน ตั้งแต่แรมค่ำ 1 เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 9
พระอาทิตย์สถิตในราศีสิงห์ เตโชธาตุสมุฏฐานหย่อน
อพัทธปิตตะ (ดีนอกฝัก) ระคนให้เป็นเหตุ
3) เตโชธาตุพิการ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 1
พระอาทิตย์สถิตในราศีธนู เตโชธาตุสมุฏฐานพิการ
กำเดา (เปลวแห่งวาโยโลหิต) ระคนให้เป็นเหตุ
พระอาทิตย์สถิตย์ในราศีพิจิก อาโปธาตุสมุฏฐานหย่อน
อุระเสมหะ (เสมหะในทรวงอก) ระคนให้เป็นเหตุ