คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงลักษณะฝี (วัณโรค)
ลักษณะวัณโรคอันพึงเกิดภายในนั้น เกิดเพื่อ (เพราะ) จตุธาตุ และตรีสมุฎฐานอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะวิปริตเป็นชาตะ จะละนะ โดยหย่อนพิการ ระคนกันเข้า แล้ว ตั้งต่อมชั้น มีประเภทต่างๆ ให้บุคคลทั้งหลาย ทั้งเรียนรู้ไปเบื้องหน้า ซึ่งแต่ละอย่างมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้
ลักษณะวัณโรคอันพึงเกิดภายในนั้น เกิดเพื่อ (เพราะ) จตุธาตุ และตรีสมุฎฐานอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะวิปริตเป็นชาตะ จะละนะ โดยหย่อนพิการ ระคนกันเข้า แล้ว ตั้งต่อมชั้น มีประเภทต่างๆ ให้บุคคลทั้งหลาย ทั้งเรียนรู้ไปเบื้องหน้า ซึ่งแต่ละอย่างมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้
- ฝีปลวก
มีอาการให้เจ็บในทรวงอกที่ตั้งแห่งหัวใจ ตลอดไปตามสันหลัง ให้ผอมเหลือง ให้อาเจียนเป็นโลหิต ไอเหม็นคาวคอ บริโภคอาหารไม่ ได้ นอนไม่หลับ - ฝีวัณโรค ชื่อ กุตะณะราช
แรกเป็นอาการให้แน่นในทรวงอกกลางคืน กระทำพิษให้จับไข้ สะท้านร้อนสะท้านหนาวไปทั้งตัว บริโภคอาหาร ไม่ได้ นอนไม่หลับ - ฝีวัณโรค ชื่อ มานทรวง
แรกเป็น มีอาการให้ยอกเสียด หายใจขัดในทรวงอก เจ็บหน้าอก ทั้งกลางวัน และกลางคืน ไอเป็นเสมหะเหนียว ซูบผอม ให้แน่นหน้าอกเป็นกำลัง - ฝีวัณโรค ชื่อ ธนูธรวาต
แรกเป็นมีอาการให้เจ็บหน้าอกตลอดสันหลัง ให้ปวดขบเป็นกำลัง ปวดเมื่อยไปทุกข้อทุกกระดูก ให้วิงเวียน บางทีทำให้ขัดอุจจาระ และปัสสาวะ ให้ท้องขึ้นไม่รู้วาย ให้ยอกจุกเสียดยอดอก ซูบผอม บริโภคอาหารไม่มีรส ให้ตาแข็งนอนไม่หลับ ให้ปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน มีพิษต่างๆ - ฝีวัณโรค ชื่อ ฝีรากชอน
แรกเป็นมีอาการให้บวมเป็นลำขึ้นไปตามเกลียวปัตคาด ให้จับเป็นไข้ สะท้านร้อนสะท้านหนาว ให้ขนลุกชันทุกขุม ให้ตัวแข็งกระด้างจะลุกจะนั่งให้ยอก ให้เสียดไหวตัวไม่ได้ - ฝีวัณโรค ชื่อ ฝียอดคว่ำ
เมื่อแรกเป็นมีอาการให้ปวดอยู่ท้องน้อยลงไปถึงทวารหนัก ให้ปวด ไปถึงหน้าตะโพก ให้เจ็บเป็นบางเวลา เป็นไข้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ให้ปวดแต่กลางคืน กลางวันปวดเล็กน้อย กระทำพิษต่างๆ - ฝีรวงผึ้ง
เมื่อจะบังเกิดกระทำให้แน่นชายตับเบื้องขวา ให้ยอกตลอดสันหลัง ให้ตัวเหลือง หน้าเหลือง ตาเหลืองดังขมิ้น ปัสสาวะเหลืองดุจน้ำกรัก ให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้มึนตึง ให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก ให้อิ่มด้วยลม บริโภคอาหารมิได้ - ฝีมะเร็งทรวง
เมื่อจะบังเกิด กระทำให้เป็นมูกเลือดหลายครั้งหลายหน ดุจเป็นบิด แล้วก็หายไป อยู่ๆ ก็กลับเป็นมาอีก ให้ปวดขบ ยอกเสียด จุกแดก แน่นหน้าอกเป็นกำลัง ให้ยอกตลอดสันหลัง ให้วิงเวียน ให้ไอ ให้หอบ หิวหาแรงมิได้ ซูบผอม มักให้ครั่นตัว ให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก - ฝีธรสูตร
เมื่อจะบังเกิดทำให้เจ็บปวดสันหลัง ให้เมื่อย ให้จุกแดกเป็นกำลัง ให้เสียดในอุทร ให้ซูบผอม บริโภคอาหารมิได้ - ฝีธนูทวน
เมื่อบังเกิดทำให้ฟกบวมตามเส้นสัณฑะฆาต ให้ตึงท้อง ตลอดสันหลังให้สันหลังแข็ง ลุกนั่งไม่ได้ ให้ยอกเสียดเป็นกำลัง ให้ระบมไปทั่วทั้งท้อง ให้ท้องบวม ใหญ่ขึ้น - ฝีสุวรรณเศียร
เมื่อจะบังเกิดแต่สมองกระดูกพิการ ตั้งขึ้นดุจจอกหูหนู มีสีเหลือง มีรากหยั่งถึงหัวใจ มีอาการทำให้เมื่อยต้นคอ ให้เจ็บถึงกระหม่อม ให้จักษุมืด ให้โสตประสาทตึง ให้ปวดศีรษะดังจะแตก ให้เจ็บทุกเส้นขน ให้ร้อนในกระหม่อม และกระบอกจักษุ และช่องโสตประสาท ถ้าตั้งหนองขึ้นแล้ว กระทำพิษให้กลุ้มดวงหทัย ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้คลั่งไม่ได้สติสมปฤดี เมื่อหนองจะแตกนั้น บางทีออกมาทางจักษุ ทั้งสอง บางทีออกทางช่องโสตทั้งสอง ุถ้าออกมาทางช่องอันใด ช่องอันนั้นก็พิการ - ฝีชื่อ ทันตะกุฏฐัง
บังเกิดในกราม ถ้าบังเกิดขึ้นกรามซ้าย ชื่อทันตะมุนลัง ถ้าขึ้นข้างขวา ชื่อ ทันตะกุฎฐัง อาการเหมือนกัน คือเมื่อแรกตั้ง มีสัณฐานดังเมล็ดข้าวโพด มีสีแดง เหลืองเหมือนลูกหว้า บางทีแข็งดุจเม็ดหูด ร้ายนัก เมื่อแตกออก มีสัณฐานดังดอกลำโพง แล้วเปื่อยตามเข้าไปถึงลำคอ มีน้ำเหลืองมากกว่าหนอง มีพิษกล้ายิ่งนัก ทำให้ปวดตั้งแต่ต้นคางไปถึงกระหม่อม ฟกบวมออกมาภายนอก ให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว บริโภคอาหารไม่ได้แพทย์ไม่รู้นึกว่ามะเร็งรำมะนาด ตายเสียเป็นอันมาก - ฝีทันตะมูลา
บังเกิดแก้มซ้าย และแก้มขวา เมื่อแรกนั้นดูอาการ และประเภทเหมือนปูนกัดปาก ดูสัณฐานดังฉะลุกะ (ปลิง) เข้าเกาะจับอยู่ตามกระทุ้งแก้ม มีสีแดงดังสีเสนอ่อน อาการให้แสบร้อนในกระพุ้งแก้ม แล้วให้แก้มนั้นเหน็บชา บางทีให้ฟกบวมออกมา ภายนอกมียอดบานเหมือนดอกลำโพง เป็นหนอง 1 ส่วน น้ำเหลือง 2 ส่วน ถ้าผู้ใดเป็นเข้า ถือว่าเป็นกรรม เป็นอสาทิยะโรค - ฝีราหูกลืนจันทร์
บังเกิดใต้ต้นลิ้น มีสัณฐานดังดวงพระจันทร์ ต่ออ้าปากออกถึงเห็นครึ่งหนึ่ง ลับเข้าอยู่ในลำคอไม่เห็นครึ่งหนึ่งทำให้ฟกบวมในลำคอเป็นกำลัง บริโภคข้าวน้ำมักให้สำลักขึ้นไปในนาสิก (จมูก) ทุกที ถ้าแก่ขึ้นให้แดงดังผล อุทุมพรสุก ให้มีพิษเจ็บยิ่งนัก จับสะบัดร้อนสะท้าน หนาว เจรจาไม่ค่อยจะได้ มีหนอง และน้ำเหลือง เท่ากัน เป็นอติสัยโรค - ฝีฟองสมุทร
บังเกิดเพื่อ (เพราะ) วาโยโลหิตระคนกัน ขึ้นในคอ ต้นขากรรไกร แรกขึ้นมีสัณฐานดังหลังเบี้ย ถ้าขึ้นขวาตัวผู้ ขึ้นซ้ายตัวเมีย กระทำให้เจ็บในลำคอเป็นกำลัง จะกลืนข้าวกลืนน้ำไม่ได้ ให้เจ็บปวดดังจะขาดใจตาย ถ้ายาถูกก็เคลื่อนหายไป ถ้ายาไม่ถูกก็จำเริญขึ้นเป็นหนอง ทำพิษให้สะบัดร้อนสะท้านหนาวดุจไข้จับ ให้เซื่อมมัว ให้ร้อนศีรษะตลอดปลายเท้า แต่ไม่เหมือนไข้ หรือสันนิบาต ให้ทุรนทุรายไป จนกว่าหนองจะแตก วัณโรคฟองสมุทรนี้ เป็นยาปะยะโรค ( รักษาได้ไม่ตาย) - ฝีครีบกรต
บังเกิดตามครีบชิวหา เมื่อแรกขึ้นมีสัณฐานเท่าเมล็ดถั่วเขียว และเมล็ดงา แข็งขึ้นมาเหมือนหัวหูด แล้วเจริญขึ้นมีสีแดงดังชาดจิ้ม อาการทำให้ลิ้นกระด้าง ให้เจ็บๆ คันๆ และเร่งเกลื่อนเสียแต่ยังอ่อน อย่าปล่อยไว้ให้ยอดแตกออกมาได้ ถ้าเจริญแก่เข้าแล้ว ก็แตกออกเปื่อยลาม เป็นขุมๆ มีประเภทเหมือนวงสะท้อน ลามไปในชิวหาพื้นบน และล่าง บางทีบวมทะลุลงไปใต้คาง เป็นหนอง และโลหิตไหลมิได้ขาด เหม็นเหมือน ซากศพ ถ้าใครเป็นถือว่าเป็นกรรม - ฝีอุรัคคะวาต (อุระคะวาตา)
เกิดขึ้นตามกระดูกสันหลังข้างใน บางทีขึ้นตรงกระดูก บางทีขึ้นระหว่างกระดูก ตั้งแต่เบื้องบนถึงที่สุดแห่งกระดูกสันหลัง ข้างในเบื้องต่ำ เมื่อจะเกิดขึ้นนั้น เหตุด้วยลมสุนทรวาตพัดเตโชธาตุ และอาโปธาตุ มิได้เสมอตามปกติ จึงบังเกิดวิทราธิโรคขึ้น ให้จำเริญไปถึงวรรณะ มีประเภทกระทำพิษต่างๆ บางทีให้จุกเสียด บางทีให้ขัดอุจจาระปัสสาวะ บางทีให้ลงดุจเป็นบิด มีเสมหะ โลหิตระคนกัน ให้ปวดมวนเป็นกำลัง เป็น อย่างนี้ 2-3 ครั้ง แล้วก็หายไป ให้เจ็บในอก และชายสะบัก จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้นอนไม่หลับ บริโภคอาหารไม่ได้ ให้ตาแดงเป็นสายโลหิต บางทีให้บวมตั้งแต่ไหล่ถีงเอว ให้ร้อนเป็นกำลัง ให้เจ็บ ทุกข้อทุกกระดูกสันหลังข้างนอก รู้ไม่ถึง ย่อมเสียเป็นอันมาก ให้รักษาแต่ยังอ่อน - ฝีอัคนีสันทวาต
บังเกิดจากต้นขั้วกระเพาะปัสสาวะข้างใน เพราะแม่ซางขึ้นประจำอยู่ในกระเพาะเบา แพทย์รักษาไม่หายสนิทตั้งแต่ยังเป็นกุมาร เมื่อเจริญเติบโตขึ้นวาโยพัดขับปัสสาวะไม่สะดวก จึงตั้งเป็นยอดขึ้น บางทีเป็นด้วยล้มกระทบฟกช้ำ และบวมขึ้น วัณโรคจึงบังเกิดขึ้น วัณโรคนี้เกิดแต่กองปถวี และวาโยระคนกัน มีประเภทการกระทำนั้น ต่างกันคือ
1). ฟกบวมออกมาจากภายนอก แข็งเป็นดานตามฝีเย็บ มักให้บวม เป็นกำลัง ให้ปัสสาวะหยดย้อย
2). เป็นหนอง และโลหิตไหลออกมาทางท่อปัสสาวะ
3). แดงออกมาภายนอกดุจผลมะไฟ แล้วแตกออกเป็นหนอง และโลหิตก็มี
4). น้ำปัสสาวะเดินทางช่องแผลก็มี
5). ปัสสาวะขัดเป็นลิ่มเป็นก้อนก็มี รักษายาก - ฝีดาวดาษฟ้า
คือน้ำลาย น้ำเสมหะ น้ำโลหิตทั้ง 3 พิการ ระคนกัน เข้าจึงบังเกิดเป็นเม็ดยอดขึ้นภายในทั่วไป ทั้งตับ ปอด หัวใจ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ทั้งปวง และวัณโรคอันนี้ เกิดเป็นอุปปาติกะ บังเกิดด้วยอาโปธาตุ จะตั้งขึ้นที่ใด ก็ให้เจ็บที่นั่น ดุจไม้ยอกหอกปัก ถ้ามิฉะนั้นดุจตะขาบ แมลงป่องขบกัด และจะให้ฟกบวมขึ้นมาภายนอกนั้นหามิได้ มีอาการให้จับเซื่อมมัว สะบัดร้อนสะบัดหนาว ผอมเหลือง ถ้านานเข้าจะให้จุกแน่นหน้าอก ให้อาเจียนน้ำลายเหนียว หอบ สะอึกให้บวมเท้า ให้ลงเป็นหนอง และโลหิตเน่าให้ปวดบวม เป็นกำลัง รักษายากนัก