ยาพญายอ

ยาครีม ยาโลชัน สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ยาโลชัน (รพ.) สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ยาทิงเจอร์ (รพ.)

ตัวยาสำคัญ : สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau]

รูปแบบ/ความแรง :

สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau] โดยมีปริมาณแตกต่างกันตามรูปแบบยาดังนี้
1. ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 4 – 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5 – 4 โดยน้ำหนัก (w/w)
3. ยาโลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก (w/w)
4. ยาขี้ผึ้ง ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอ ร้อยละ 4 – 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
5. ยาทิงเจอร์ ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอสด ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)

ข้อบ่งใช้ :

  1. ยาครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด
  2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด
  3. ยาโลชัน บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน
  4. ยาขี้ผึ้ง บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย
  5. ยาทิงเจอร์ บรรเทาอาการของเริม และงูสวัด

ขนาดและวิธีใช้ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง

 

Scroll to top