ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน หรือมีสรรพคุณเสมอกันนั้น สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพราะตัวยาบางอย่างที่ต้องการ หรือมีในตำรายานั้น ไม่มีหรือขาดไป หรือตัวยาบางอย่างต้องนำมาจากต่างประเทศ บางครั้งตัวยาเกิดขาดตลาด จะรอให้ส่งมาจากต่างประเทศ คนไข้ก็คงจะไม่ได้รับประทานยาเป็นแน่ ดังนั้นแพทย์และเภสัชกรแผนโบราณ จึงได้คิดค้นหาตัวยาบางอย่างที่พอหาได้ พอจะมีสรรพคุณทัดเทียมกัน เพื่อจะได้นำมาปรุงเป็นยาเพื่อรักษาโรค ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน และพอจะใช้แทนกันได้นั้นมีดังนี้ คือ
- โกฐสอ มีสรรพคุณเสมอกับ ข่าลิง
- โกฐเขมา มีสรรพคุณเสมอกับ ทรงบาดาล
- โกฐหัวบัว มีสรรพคุณเสมอกับ หัวกระเทียม
- โกฐเชียง มีสรรพคุณเสมอกับ ไพล
- โกฐจุฬาลัมพา มีสรรพคุณเสมอกับ หญ้าตีนนก
- โกฐกระดูก มีสรรพคุณเสมอกับ หัวกะทือ
- โกฐก้านพร้าว มีสรรพคุณเสมอกับ ชิงช้าชาลี
- โกฐน้ำเต้า มีสรรพคุณเสมอกับ หัวเปราะป่า
- กะเม็ง มีสรรพคุณเสมอกับ ผักคราด
- กะเพรา มีสรรพคุณเสมอกับ แมงลัก
- แก่นประดู่ มีสรรพคุณเสมอกับ แก่นมะชาง
- เกลือสมุทร มีสรรพคุณเสมอกับ เกลือประสะ
- เกลือสินเธาว์ มีสรรพคุณเสมอกับ สมอทั้ง 3
- ดีปลี มีสรรพคุณเสมอกับ ขิง
- บอระเพ็ด มีสรรพคุณเสมอกับ ชิงช้าชาลี
- ยางเทพทาโร มีสรรพคุณเสมอกับ ยางสลัดได
- เปลือกตาเสือ มีสรรพคุณเสมอกับ เปลือกนนทรี
- กานพลู มีสรรพคุณเสมอกับ ลูกจันทร์
- เปลือกแคแดง มีสรรพคุณเสมอกับ เปลือกแคขาว
- หัศคุณเทศ มีสรรพคุณเสมอกับ หัสคุณไทย
- สารส้ม มีสรรพคุณเสมอกับ เหง้าสับปะรด
- โคกกระสุน มีสรรพคุณเสมอกับ นมพิจิตร
- ใบเงิน มีสรรพคุณเสมอกับ ใบทอง
- น้ำมะกรูด มีสรรพคุณเสมอกับ น้ำมะนาว
- ด่างสลัดได มีสรรพคุณเสมอกับ ด่างโคกกระสุน
- หนอนตายหยาก มีสรรพคุณเสมอกับ กะเพียด
- ขมิ้นอ้อย มีสรรพคุณเสมอกับ ขมิ้นชัน
- กาหลง มีสรรพคุณเสมอกับ จิก
- ผักเสี้ยนทั้ง 2 มีสรรพคุณเสมอกับ หญ้าพันงูทั้ง 2
- มะไฟเดือนห้า มีสรรพคุณเสมอกับ หญ้าปากควาย
- น้ำตาลทราย มีสรรพคุณเสมอกับ น้ำตาลกรวด
- มะแว้งต้น มีสรรพคุณเสมอกับ มะแว้งเครือ
- มะกรูด มีสรรพคุณเสมอกับ ส้มซ่า
- เมล็ดสลอด มีสรรพคุณเสมอกับ พาดไฉน
- เข็มแดง มีสรรพคุณเสมอกับ เข็มขาว
- ฝิ่นต้น มีสรรพคุณเสมอกับ ฝิ่นเครือ
- ดอกดึง มีสรรพคุณเสมอกับ ผักโหมแดง
- ลูกกรวย มีสรรพคุณเสมอกับ ลูกบิด