การปรุงรสและตบแต่งอาหารอย่างเหมาะสม ทำให้อาหารที่ได้มีลักษณะและรสชาติที่ชวนรับประทานอาหารของไทยทั้งคาวและหวาน นิยมปรุงแต่งสีให้ดูสวยงาม แต่เดิมสีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหารส่วนใหญ่ได้ สีผสมอาหารจากธรรมชาติ คือได้จาก ส่วนดอก ผล แก่น ใบ เหง้า และบางครั้งก็ได้จากสัตว์ ในระยะหลังมีสีสังเคราะห์เกิดขึ้น จึงได้มีการนำสีสังเคราะห์มาใช้ในการปรุงอาหารกันมากขึ้น สีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารได้จากการสังเคราะห์สานเคมีทางวิทยาศาสตร์ผ่านการค้นคว้าทดลองปรากฏว่า หลายชนิดเป็นอันตรายต่อคนในระยะยาว เรื่องนี้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรปได้มีการค้นคว้าเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง พร้อมทั่งสั่งระงับการใช้สีสังเคราะห์หลายชนิดที่ตรวจพบว่าเป็นอันตรายต่อคนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ในเมืองไทย จากการสุ่มตัวอย่างอาหารหลายชนิด เช่น ไส้กรอก น้ำปลา ข้าวเกรียบกุ้ง กุ้งแห้ง หรือขนมสำหรับเด็กตรวจแล้วพบว่าอาหารบางอย่างใส่สีผสมอาหารที่ไม่ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ใส่สีย้อมผ้าอยู่บ่อยครั้ง เพราะสีย้อมผ้าราคาถูก ใส่เพียงเล็กน้อยสีก็จะเด่นชัดขึ้นมา สีสังเคราะห์จะเป็นอันตายต่อผู้บริโภค ยางคนรับประทานเข้าไปอาจะเกิดแพ้สีอาการคล้ายแพ้ยาแอสไพริน คือ คลื่นไส้ อาเจียน มีริมผีปากดำ ถ้าเป็นสีผสมสารหนูคนไข้จะมีอาการน้ำลายฟูมปาก หายใจไม่ออก สีที่มีตะกั่ว คนไข้ที่แพ้หรือรับประทานเข้าไปมากจะทำให้โลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหมดกำลัง อาจพิการสมองอาจถูกกระทบกระเทือนไปด้วย
สีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ไม่ควรใช้เลย เพราะบางตัวถ้าใช้บ่อยและปริมาณมาก อาจทำให้เกิดพิษได้ เนื่องจากสีนั้นอาจจะไปเกาะหรือเคลือบตามเยื่อบุกระเพราะลำไส้ ทำการดูดซึมของกระเพาะลำไส้ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดอาการท้องเดิน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด ชีพจร และการหายใจอ่อน ถ้าเป็นมากประสาทและสมองเป็นอัมพาต อาจเป็นมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และในที่อื่นๆ
การควบคุมยังทำไม่ทั้งถึง จึงทำให้ในท้องตลาดมีอาหารที่ผสมด้วยสีที่เป็นอันตรายหลายอย่างในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคจึงควรเลือกอาหารที่สาสีผสมอาหารจากธรรมชาติเป็นอันดับรกหรือเลือกอาหารที่ไม่ใส่สี หากทำอาหารรับประทานเอง ควรใช้สีจากธรรมชาติ เพราะจะได้อาหารที่มีความปลอดภัย ความสะอาด และประหยัดอีกด้วย สีผสมอาหารจากธรรมชาติที่จะแนะนำในที่นี้นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสีจากธรรมชาติและมีการใช้กันมามาก สามารถลือกสามารถเลือกใช้ได้ตามชนิของอาหารและความชอบ
สีผสมอาหารจากธรรมชาติ
กระเจี๊ยบแดง
ส่วนที่ใช้ : กลีบเลี้ยง
วิธีใช้ : ใช้กลีบเลี้ยงแห้งหรือสด ต้มกับน้ำเคี่ยวให้สีแดงออกมามากที่สุด กรองเอากากที่เหลือออกโดยผ้าขาวบางบีบน้ำออกจากกลีบให้หมด น้ำกระเจี๊ยบที่ได้สีแดงเข้ม (สาร Anthocyanin) นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ หรือนำไปเติมน้ำตาล เกลือเล็กน้อยปรุงเป็นเครื่องดื่มก็ได้
ขมิ้น
ส่วนที่ใช้ : เหง้าดิน
วิธีใช้ : ใช้เหง้าสด ล้างน้ำ ปอกเปลือก บดหรือตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นกรองจะได้น้ำสีเหลืองเข้ม (สาร Curcumin) นำไปแต่งสีอาหารคาวเช่น แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ แกงเหลือง อาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ทำให้มีสีเหลืองน่ากิน
คำฝอย
ส่วนที่ใช้ : ดอกแก่
วิธีใช้ : เอาดอกแก่มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร saffower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
คำแสด
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด
วิธีใช้ : นำเมล็ดมาแช่น้ำแล้วคนแรงๆ หรือนำเมล็ดคำแสดมาบดแล้วแช่น้ำ กรองเอาเมล็ดออกด้วยผ้าขาวบางตั้งไว้ให้สีตกตะกอน รินน้ำใสทิ้ง นำตะกอนสีแสด (สาร BIXIN) ที่ได้ไปแต่งสีอาหารประเภทไขมัน เช่น ฝอยทอง เนย ไอศกรีม และยังใช้ย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมได้ด้วย องค์การอนามัยโลก กำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน
เตย
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
วิธีใช้ : นำใบเตยสดที่สะอาดหั่นตามขวางโขลก เติมน้ำเล็กน้อย คั้น กรอง ผ่านผ้าขาวบาง จะได้น้ำสีเขียว (santophyll และ chlorophyll) มีกลิ่นหอม ใช้แต่งสีอาหารคาวและหวานได้ นิยมใช้แต่สีอาหารหวาน เช่น ลอดช่อง ขนมเปียกปูน วุ้นกะทิ น้ำเก๊กฮวย เค้ก เป็นต้น บางทีก็เอาใบมาโขลกพอแหลก ต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเล็กน้อย ทำเป็นชาใบเตย มีสีเขียว กลิ่นหอมชื่นใจ
ฝาง
ส่วนที่ใช้ : แก่น
วิธีใช้ : นำแก่นมาแช่น้ำ จะได้น้ำสีชมพูเข้ม (sappan red) ใช้สีแต่งอาหารได้
อัญชัน
ส่วนที่ใช้ : ดอกสด
วิธีใช้ : ใช้กลีบดอกสด ตำ เติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู