กระทุ่ม

กระทุ่ม

ชื่อสมุนไพร : กระทุ่ม
ชื่ออื่นๆ
: ตับเต่าต้น, ตานควาย(อุบลราชธานี), กระทุ่มหูกวาง(ราชบุรี), หูกวาง(พิษณุโลก), ตุ้มหูกวาง, ตุ้มปึง, ตุ้มโป่ง, ตับควาย, จับล่อ(เหนือ), ละลาย(นครราชสีมา), หลุมปัง(สุราษฎร์ธานี), ตับเต่าน้อย, เต้าแล้ง, ตองแล้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระทุ่ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เปลือกรากมีสีดำอ่อนๆ
  • ใบกระทุ่ม เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 7-17 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนหรือบางครั้งเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีหูใบรูปสามเหลี่ยม
  • ดอกกระทุ่ม ออกเป็นช่อกลมแน่น ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียยาวสีขาว
  • ผลกระทุ่ม เป็นผลรวมที่เกิดจากวงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน รูปทรงกลม ผิวขรุขระ เมล็ดมีขนาดเล็กมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, ผล

สรรพคุณ กระทุ่ม :

  • ใบและเปลือกต้น ลดความดันโลหิต ต้มน้ำกินแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก
  • ราก ฝนหรือต้มรับประทานเป็นยาเย็นดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ตัวร้อน ดับพิษตานซางของเด็ก ดับพิษวัณโรค
  • ผล เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องร่วง

ช้อมูลเพิ่มเติม :

  • ไม้กระทุ่มมีเนื้อไม้ที่ละเอียด สีเหลืองหรือสีขาว สามารถนำมาใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานร่ม หรือนำมาใช้ทำกล่อง ทำอุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักเบา และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย
Scroll to top