กาหลง

กาหลง

ชื่ออื่น : กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia acuminata L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกาหลง เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ผิวค่อนข้างเกลี้ยงไม่ค่อยมีขน

  • ใบกาหลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่เกือบกลม กว้าง 9-13 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ปลายใบเว้าลงสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่น ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ มีรยางค์เล็กๆระหว่างหูใบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน เส้นใบสีเขียวสด
    กาหลง

  • ดอกกาหลง สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง ช่อละ 3-10 ดอก โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบ ปลายเรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ มีขนาดไม่เท่ากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร


  • ผลกาหลง ผลแห้ง เป็นฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายและโคนฝักสอบ แหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม เมล็ดขนาดเล็ก รูปขอบขนาน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ต้น, ราก, ดอก

สรรพคุณ กาหลง :

  • ใบ รักษาแผลในจมูก
  • ต้น แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
  • ราก แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด
  • ดอก แก้ปวดศีรษะ ลดความ ดันเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด
Scroll to top