ชาด

ชาด

ชื่อสมุนไพร : ชาด
ชื่ออื่นๆ
: กุง(อุบลราชธานี, อุดรธานี, ปราจีนบุรี), คลง(เขมร), คลอง(เขมร), ควง(พิษณุโลก, สุโขทัย), ตึง, ตึงขาว(ภาคเหนือ), พลวง, ยาง(ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ยางพลวง(ภาคกลาง), พลอง, แลเท้า(กะเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus tuberculatus Roxb.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชาด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 10-30 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่องลึกไปตามยาวของลำต้น กิ่งอ่องเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง มีรอยแผลใบเห็นชัด
  • ใบชาด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กว้างขนาด 15-28 X 15-40 ซ.ม. โคนใบแผ่กว้าง แล้วหยักเว้า ปลายใบสอบทู่ เนื้อใบหนาเกลี้ยงหรืออาจมีขนกระจายห่างๆบ้าง ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-30 ซ.ม.
  • ดอกชาด  ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ตอนปลายกิ่ง มีกาบหุ้มช่อดอกรูปขอบขนานแคบๆ หนึ่งกาบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบบิดตามเข็มนาฬิกาเหมือนกังหัน ก่อนออกดอกจะทิ้งใบหมดหรือเกือบหมด สีชมพู-ชมพูเข้ม ขอบกลีบสีขาว
  • ผลชาด  เป็นรูปกรวย มีสันด้านข้างผล 5 สัน และพองโตเป็นติ่ง 5 ติ่งตรงที่ติดกับโคนปีก มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10-15 ซ.ม. มีเส้นปีกตามยาว 3 เส้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : น้ำมัน, ใบ, ราก

สรรพคุณ ชาด :

  • น้ำมันชาด ใช้ทาแผลภายนอก โดยผสมกับมหาหิงคุ์ และน้ำมันมะพร้าวก็ได้
  • ใบ เผาให้เป็นเถ้าผสมกับน้ำปูนใส แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือก
  • ราก นำมาต้มแล้วดื่มแก้ตับอักเสบ
Scroll to top