ตะโกนา

ตะโกนา

ชื่อสมุนไพร :  ตะโกนา,
ชื่ออื่นๆ :
  พระยาช้างดำ, โก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), นมงัว (นครราชสีมา), มะโก (ภาคเหนือ), มะถ่าน, ไฟผี, มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ :  Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Diospyros rhodocalyx Kurz
ชื่อวงศ์ :  EBENACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นตะโกนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง  ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตรลำต้นเปลา ตรง แต่แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ตหนา ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปไข่ ทึบ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ปลายกิ่งมักห้อยลู่ลง
  • ใบตะโกนา  เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรูปไข่ ป้อม และรูสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลาย ๆ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 3-12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม บางทีมหรือป้าน ปลายใบมนป้าน หรือหยักเว้าเข้า เนื้อใบค่อนข้าวหนา ด้านหลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบในระยะที่เป็นใบอ่อนพอมีขนบ้างประปราย เส้นแขนงใบ มี 5 – 8 คู่ เส้นอ่อนคดไปมา เส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแห พอสังเกตเห็นได้ทั้งสองด้าน เส้นกลางใบมักออกสีแดงหรือชมพูเรื่อ ๆ เมื่อใบแห้ง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-7 มม. ก้านใยอ่อนมีขนนุ่ม
  • ดอกตะโกนา  ออกเป็นช่อ ช่อดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอดเพศผู้ มีขนาดเล็กสีขาวหรือเหลืองอ่อน ๆ ออกรวมกันเป็นช่อเล็ก ๆ ช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 3 ดอก ตามง่ามใบทั้งกลีบดอกและกลีบฐานดอกมีอย่างละ 4 กลีบ กลีบฐานดอดยาวทั้งสิ้น 3-4 มม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ด้านนอกมีขนนุ่ม ส่วนด้านในมีขนยาว ๆ แน่น กลีบดอกยาวทั้งสิ้น 8-12 มม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้อม ๆ ปลายขอบแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ เกลี้ยงทั้งสองด้าน เกสรผู้มี 14-16 อัน มีขนแข็ง ๆ แซม รังไข่เทียมมีขนแน่น ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบฐานดอกมีอย่างละ 4 กลีบ มีลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่ ป้อม มีขนเป็นเส้นไหมคลุม ภายในแบ่งเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วยหลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว มีขนแน่นปลายหลอดแกยกออกเป็น 2 แฉก เกสรผู้เทียม มี 8-10 อัน มีขนแข็ง ๆ แซม
  • ผลตะโกนา  กลม โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 2-3 ซม. ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุม ผลแก่เกลี้ยงและออกสีเหลืองอมเขียว กลีบจุกผล มีเส้นลายกลีบพอสังเกตเห็นได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, เปลือกผล, เปลือกต้น, เนื้อไม้

สรรพคุณ ตะโกนา :

  • ผล  รสฝาดหวาน  ผลเอามาตากแดด ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาการบวม ขับพยาธิ แก้ตกเลือด แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กระษัย แก้ฝีเน่าเปื่อย
  • เปลือกผล รสฝาด สมานทั้งภายในและภายนอก เผาเป็นถ่าน รสเย็น ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสเฝื่อนฝาดขม ต้มดื่มเป็นน้ำชา บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกามตายด้าน บำรุงกำหนัด เพิ่มพลังทางเพศ แก้มุตกิดระดูขาว
Scroll to top