ปอกระสา

ปอกระสา

ชื่อสมุนไพร : ปอกระสา
ชื่ออื่นๆ :
ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์), ปอกะสา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หมอมี หมูพี (ภาคกลาง), ปอฝ้าย (ภาคใต้), ส่าแหล่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เซงซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชะดะโค ชะตาโค (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), สายแล (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ป๋อสา (คนเมือง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broussonetia papyrifera Vent.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ปอกระสา เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 6-10 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่งกว้าง กิ่งเปราะหักง่าย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนเรียบบางเป็นเส้นใย ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว เมื่อกรีดลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายนมไหลออกมา
  • ใบปอกระสา เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้างหรือรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนปอกระสาใบมนเว้าเล็กน้อยหรือเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันตลอดทั้งขอบใบ มีแตกเป็น 3-5 แฉกบ้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร แผ่นใบบางนิ่ม หลังใบเรียบเป็นสีเขียวแก่สากระคายมือ ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนออกเทามีขนหนานุ่มขึ้นปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร และมีขน
  • ดอกปอกระสา เป็นแบบแยกเพศกันอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อห้อยลงมา ยาวประมาณ 6-8 ปอกระสาเซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันหนาแน่น โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว กลีบรองดอกเป็นกาบ มี 4 กลีบ ส่วนช่อดอกเพศเมียจะออกเป็นช่อกลม มีดอกย่อยจำนวนมาก โดยจะออกตามซอกใบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเขียวอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ก้านเกสรเป็นเส้นฝอยยาวสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่กลางดอก
  • ผลปอกระสา เป็นผลรวม ออกตามบริเวณซอกใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมสีส้มอมแดง ฉ่ำน้ำ มีเนื้อปอกระสาผลมาก เนื้อนิ่ม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่บนก้านยาว เมล็ดมีลักษณะแบน

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ใบ, กิ่งอ่อน, ผลแห้ง, น้ำยาง, ราก, เปลือกราก

สรรพคุณ ปอกระสา :

  • เปลือกต้น ปรุงเป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไอ บิด อุจาระเป็นเลือด แก้ตาเป็นต้อ
  • ใบ ปรุงเป็นยาแก้บวมน้ำ กระอักเลือด แก้พิษแมลงกัดต่อย ผื่นคัน
  • กิ่งอ่อน  แก้โรคตาแดง
  • ผลแห้ง ปรุงเป็นยาบำรุงไตและตับ ชูกำลัง ตาเป็นต้อ
  • น้ำยาง ทากลากเกลื้อน บาดแผล แก้บวมน้ำ แมลงกัดต่อย
  • รากและเปลือกราก ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ ขับปัสสาวะ ปวดฝี แผลฟกช้ำ

[su_quote cite=”The Description”]เมื่อมีอาการไอ หรืออาเจียนเป็นเลือด ท้องผูก ปากขม กระหายน้ำ การหลั่งน้ำอสุจิ ยามนอนหลับ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือมีอาการปวด เวียนหัวบ่อย ๆ ใช้ถั่วดำ ประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้แช่ผลปอกะสาที่แห้งแล้ว จากนั้นนำมาตากให้น้ำถั่วแห้งสนิท แล้วใส่เมล็ดเก๋ากี้ คั่วให้รวมกันให้เกรียม บดให้เป็นผงละเอียดใช้กินวันละประมาณ 15 กรัม [/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]แก้กลากเกลื้อน โดยใช้น้ำยางสด 10 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์หรือวาสลิน ประมาณ 90 ส่วน ผสมเข้าด้วยกัน แล้วใช้ทาในบริเวณที่เป็น [/su_quote]

Scroll to top