ผักชี

ผักชี

ชื่อสมุนไพร : ผักชี
ชื่ออื่นๆ :
ผักไล (ทั่วไป), ผักหอมป้อม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคอีสาน), ผักหอม(นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), พังไฉ่ (จีนแต้จิ๋ว), ผักกี ( ไทยใหญ่)
ชื่อสามัญ :  Coriander, Cilantro, Chinese parsley
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum Linn.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักชี เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวงและมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาน 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าต้นแก่จัดจะออกสีเขียวอมน้ำตาล
    ผักชี
  • ใบผักชี ลักษณะการออกของใบจะเรียคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด
    ผักชี
  • ดอกผักชี ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบ สีขาวหรือชมพูอ่อนๆ
  • ผลผักชี จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาน 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็นสองแฉก ตามผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ผลแห้ง

สรรพคุณ ผักชี :

  • ทั้งต้น ช่วยเป็นยาระบายเสมหะ แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อ ขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ผลแห้ง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ ขับเหงื่อ ขับพิษเหือดหัด สุกใส ดำแดง ขับลม เจริญอาหาร แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ
  • เมล็ด  แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • แก้บิดถ่ายเป็นเลือด
    ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำผสมน้ำตาลทราย ผสมน้ำดื่ม
  • แก้บิด ถ่ายเป็นมูก
    ใช้น้ำจากผลสดอุ่น ผสมเหล้าดื่ม
  • แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก
    – ใช้ผลสดบดให้แตก ผสมเหล้าดื่มวันละ 5 ครั้ง
    – ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่ม
  • แก้ท้องอืดเฟ้อ
    ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำดื่ม
  • แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น
    ใช้ต้นสด หั่นเป็นฝอย ใส่เหล้าต้มให้เดือด ใช้ทา
  • แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
    ใช้เมล็ดต้มน้ำ ใช้อมบ้วนปากบ่อยๆ
Scroll to top