พุทรา

พุทรา

ชื่อสมุนไพร : พุทรา
ชื่ออื่น ๆ
:  มะควัดดอย(เชียงใหม่), มะตัน, นาวงต้มต้น, หมากทิน(จำปาศักดิ์), มะตค้นหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น(ภาคเหนือ-พายัพ), มั่งถั่ง(กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน), พุดซา(ทั่วไป), มะท้อง(กะเหรี่ยง-กาญจน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zizyphus mauritiana Lam.
วงศ์ : RHAMNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพุทรา เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 30 ฟุต
    พุทรา
  • ใบพุทรา จะมีลักษณะกลมโตประมาณ 1 นิ้วฟุต ตามลำต้น และตามกิ่งก้านนั้น จะเป็นหนาม
  • ดอกพุทรา จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ เป็นสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นมาก
  • ผลพุทรา จะมีลักษณะกลมโตเท่าผลมะไฟ บางชนิดจะมีผลกลม ตรงปลายผลนั้นจะแหลม คล้ายผลละมุดไทย และบางชนิดก็มีรสหวานมาก บางชนิดก็มีรสเปรี้ยว และฝาดต่าง ๆ กัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, เมล็ด, ทั้งห้า, ผลดิบ, ใบสด

สรรพคุณ พุทรา :

  • เปลือกต้น จะมีรสฝาด ใช้ต้มกิน รักษาอาการท้องร่วง และอาเจียน
  • เมล็ด  ใช้เผาไฟป่นทำเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้ตำสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด คัดจมูกเวลาเย็น ๆ นอกจากเปลือกและเมล็ดแล้ว
  • ทั้ง 5 ยังมีรสฝาดเฝื่อน ใช้รักษาอาการบวม รักษาพยาธิ ฝีทั้งปวง อาการลงท้อง และอาการตกเลือด
  • ผลดิบ รสฝาด กินแก้ไข้
  • ผลสุก รสหวานฝาดเปรี้ยว กินแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบสด ตำสุมหัว แก้หวัด คัดจมูก

 

ในเวียดนามใช้เมล็ดสด 1-2 เมล็ดหรือเมล็ดแห้ง 6-12 เมล็ด บดให้เป็นผง กินแก้อ่อนเพลีย ทำให้นอนหลับดี และใช้ใบแห้ง 20-40 กรัม ต้นน้ำดื่มแก้หืด

Scroll to top