มะกรูด

มะกรูด

ชื่อสมุนไพร : มะกรูด
ชื่ออื่น ๆ
:  ส้มกรูด, ส้มมั่วผี(ภาคใต้), มะหูด(หนองคาย), ส้มมะกรูด(ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Leech Lime, Kaffir Lime, Porcupine orange
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง เปลือกเรียบมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างของลำต้นทำให้มีลักษณะเป็นพุ่ม ตามลำต้น และกิ่งมีหนามแหลมยาว
    มะกรูด
  • ใบมะกรูด เป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบแผ่ออกเป็นครีบคล้ายแผ่นใบ มีลักษณะหนา เรียบ มีมะกรูดผิวมัน สีเขียว และเขียวเข้มตามอายุของใบ ใบมีคอดกิ่วที่กลางใบทำให้ใบแบ่งออกเป็น 2 ตอน หรือ คล้ายใบไม้ 2 ใบ ต่อกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่

 

  • ดอกมะกรูด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกออกเป็นช่อมีสีขาว แทงออกบริเวณส่วนยอดหรือตามซอกใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 1-5 ดอก หลีบดอกมีสีขาวครีม 5 กลีบ มีขนปกคลุม ภายในดอกมีเกสรมีสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย และเมื่อแก่จะร่วงง่าย
  • ผลมะกรูด ลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร ผลคล้ายผลส้มซ่า ผลมีขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย ลักษณะของผลมีรูปร่างแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกมีสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระเป็นลูกคลื่นหรือเป็นปุ่มนูน ภายในเปลือกมีต่อมน้ำมันหอมระเหยเป็นจำนวนมาก มีจุกที่หัว และท้ายของผล เมื่อสุก ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  ด้านในผลประกอบด้วยเนื้อฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแทรกบริเวณกลางผล 5-10 เมล็ด เนื้อผลมีรสเปรี้ยวปนขมเล็กน้อย

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, ผิวของผล, ราก

สรรพคุณ มะกรูด :

  • ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ แก้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นพิษ
  • ใบ มีรสปร่าหอม แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต ดับกลิ่นคาว แก้ช้ำใน
  • ผล มีรสเปรี้ยว แก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะในคอ กัดเถาดานในท้อง แก้ประจำเดือนเสีย ฟอกโลหิตประจำเดือน ขับประจำเดือน ขับลมในลำไส้ ผลเอาใส้ออกแล้วใส่มหาหิงส์เข้าไปสุมไฟให้เกรียม บดกวาดลิ้นเด็กอ่อน ขับขี้เทา ขับลม แก้ปวดท้อง ผลปิ้งไฟให้นิ่มใช้สระผม ทำให้ผมดกดำเงางาม แก้คันศีรษะ แก้รังแค
  • ผิวของผล มีรสปร่าหอม ขับลมในลำไส้ ขับประจำเดือน ขับผายลม
Scroll to top