มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

ชื่อสมุนไพร : มะกอกเกลื้อน
ชื่ออื่นๆ :
กอกกัน, ซาลัก, มะกอกเลือด, มะเกิ้ม, มะเลื่อม, มักเหลี่ยม, มะกอกเลื่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canarium subulatum Guill.
ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นมะกอกเกลื้อน เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาล เมื่อสับดูจะมีกลิ่นหอมแรงและมียางสีขาว ตามกิ่งมีแผลใบเห็นเด่นชัด
    มะกอกเกลื้อน
  • ใบมะกอกเกลื้อน เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-5 คู่ มีตั้งแต่รูปค่อนข้างกว้าง จนกระทั่งรูปหอกกว้าง 3.5-11 ซม. ยาว 9-18 ซม. ด้านบนมีขนประปราย ที่เส้นกลางใบและขอบใบ ด้านล่างมีขนสั้น ๆทั่วไป ส่วนโคนใบของใบย่อยคู่ล่างสุดไม่เบี้ยว โคนใบย่อยคู่อื่นมักเบี้ยว ขอบใบหยักแบบซี่เลื่อยตื้น ๆ มีขนเป็นกระจุกเล็ก ๆ ตามรอยหยัก เส้นใบนูนเด่นชัดทางด้านล่าง
  • ดอกมะกอกเกลื้อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน ช่อดอกเพศผู้ยาว 7-11 มม. มีขนทั่วไป กลีบรองกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ยาว 2.5-3.5 มม . ขอบหยัก เกสรผู้ 6 อัน เกลี้ยง ในดอกเพศเมีย เกสรผู้มีขนาดเล็ก
  • ผลมะกอกเกลื้อน เป็นช่อ ช่อหนึ่ง ๆ มักมีเพียง 1-4 ผล ผลรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2.7-3.5ซม. มีกลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยเล็ก ๆ เชื่อมติดอยู่กับก้านช่อดอก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล, แก่น, ยาง

สรรพคุณ มะกอกเกลื้อน :

  • ผล รสฝาดเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ
  • แก่น รสเฝื่อน แก้โลหิตระดูพิการ แก้ประดง
  • ยาง รสฝาด ทาแก้เม็ดผื่นคัน เป็นเครื่องหอม
Scroll to top