ชื่อสมุนไพร : ยี่เข่ง
ชื่ออื่น ๆ : คำฮ่อ(ภาคเหนือ), จีหมุ่ยอวย(จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Crape myrtle, Crape flower, Indian lilac (Yi-Kheng)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia indica Linn.
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นยี่เข่ง เป็นพรรณไม้ล้มพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ผิวลำต้นสีเทาหรือเกือบขาว เรียบ ลอกได้เป็นแผ่นบาง ๆ กิ่งก้านอ่อน มีปีกแคบ ๆ จึงทำให้ดูเหมือนเป็นสี่เหลี่ยม ลำต้นสูงประมาณ 7 เมตร
- ใบยี่เข่ง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น แต่ใบที่อยู่ตรงส่วนยอดของต้นนั้นจะออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายมนหรือแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบและมัน แต่ด้านท้องใบตรงเส้นกลางใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้วยาว 1-3 นิ้วสีเขียว ใบแทบจะไม่มีก้านใบเลย
- ดอกยี่เข่ง ออกเป็นช่อ อยู่ที่ส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกนั้นส่วนล่างจะเป็นเส้นกลมเล็ก ๆ และส่วนบนจะบานแผ่ออกเป็นกลีบกลมขอบหยิก และมีรอยยับย่น มีอยู่ 6 กลีบสีม่วงหรือชมพูขาว เกสรกลางดอกปลายเป็นตุ้มสีเหลือง ดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.5 นิ้ว
- ผลยี่เข่ง เมื่อดอกร่วงโรยไป จะกลายเป็นผล ซึ่งเป็นรูปทรงกลมยาวประมาณ 9-13 มม. กว้าง 8-11 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ราก
สรรพคุณ ยี่เข่ง :
- ใบ ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน แก้บิด รักษาบาดแผลสด
- ดอก แก้โรคหนองใน แผลฝี กลากเกลื้อน เด็กเป็นแผลมีหนองที่ศีรษะ แก้ตกเลือดหลังคลอดบุตร
- ราก แก้ปวดฟัน แก้บิด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก แก้ฝีมีหนอง