สันพร้าหอม

สันพร้าหอม

ชื่อสมุนไพร : สันพร้าหอม
ชื่ออื่นๆ
: เกี๋ยงพาไย, ผักเพี้ยยพ่าน, เกียวฟ้าใหญ่(ภาคเหนือ), หญ้าเสือหมอง(ภาคกลาง), สุพรรณบุรี, ราชบุรี, กาญจนบุรี), หญ้าลั่งพั้ง, มอกพา(ไทยใหญ่), พอกี่(กะเหรี่ยง), แซหลีกิ๊บ, เพ่ยหลาน, หลานเฉา(จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eupatorium fortunei Turcz.
ชื่อวงศ์ :  ASTERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสันพร้าหอม เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง  ลำต้นมีลักษณะกลมเกลี้ยงเป็นมัน สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร กิ่งของลำต้นจะแตกจากโคนต้นและจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน
    สันพร้าหอม
  • ใบสันพร้าหอม เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะขอบใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบหรืออาจมีรอยหยักคล้ายซี่ฟันเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง มีสีเขียว เส้นใบและก้านใบมีสีแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 7-11 เซนติเมตร
    สันพร้าหอม สันพร้าหอม
  • ดอกสันพร้าหอม ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ก้านช่อดอกจะมีขนปกคลุมหนาแน่น ดอกมีสีแดงหรือสีขาว ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ดอกมีขนาดเล็กบานเต็มที่ประมาณ 7-8 มิลลิเมตร
  • ผลสันพร้าหอม เป็นสีดำ มีสันอยู่ 5 สัน ผลจะแห้งรูปขอบขนาดแคบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก, ใบ

สรรพคุณ สันพร้าหอม :

  • ทั้งต้น รสหอมสุขุม แก้ไข้ แก้ปวดหัว ตัวร้อน เป็นยาหอม ชูกำลัง กระตุ้นความกำหนัด ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • ราก รสหอมร้อน ต้มดื่ม แก้พิษ แก้ระดูมาไม่ปกติ
  • ใบ รสเย็นจืด แก้ไข้พิษ บำรุงหัวใจ แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้

สันพร้าหอมสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผัก คู่ กับน้ำพริก และลาบได้ โดยใช้ในส่วนของใบมาทำเป็นเครื่องเคียงดังกล่าว และในปัจจุบันยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น แป้ง , สบู่ , แชมพู เนื่องจากส่วนต่างๆของส่วนพร้าหอมมีน้ำมันหอมระเหยและเมื่อแห้งยังมีกลิ่นที่หอมจึงมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าว

Scroll to top