ชื่อสมุนไพร : สีเสียดไทย
ชื่ออื่น : ขี้เสียด, สะเจ, สีเสียดแก่น, สีเสียดเหนือ, สีเสียดเหลือง, สีเสียดลาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (L.f.) Willd.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE (FABACEAE)-MIMOSOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นสีเสียดไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร มีหนามแหลมโค้งสั้นกว่า 1 เซนติเมตร หูใบรูปลิ่มแคบขนาดเล็ก
- ใบสีเสียดไทย เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับกัน ช่อใบย่อย 9-30 คู่ ใบย่อย 20-50 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานยาว 2-6 มิลลิเมตร
- ดอกสีเสียดไทย เป็นช่อเชิงลดออกเป็นกลุ่ม 1-4 ช่อที่ซอกใบ แกนกลางยาว 3.5-7.5 เซนติเมตร กลีบดอกยาว 2-3 เท่าของกลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้สีขาว หรือขาวแกมเหลือง
- ผลสีเสียดไทย เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแก่ ฝักรูปขอบขนาน แบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-7.5 เซนติเมตร เป็นมันมีเมล็ด 3-10 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : : เปลือกต้น, เมล็ดฝัก, ก้อนสีเสียด (เป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ กรองและเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็ง สีดำและเป็นเงา)
สรรพคุณ สีเสียดไทย :
- ก้อนสีเสียด ใช้แก้ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อยและริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บดหรือต้มกินแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล สีเสียดไทยเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดที่ออกจากจมูก แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว
- เปลือกต้น แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ท้องเดิน
- เมล็ดในฝัก ฝนแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า รักษาโรคน้ำกัดเท้า