หญ้าคา

หญ้าคา

ชื่อสมุนไพร :  หญ้าคา
ชื่ออื่น ๆ
: หญ้าหลวง , คา , แผกคา (ทั่วไป) , สาแล , ลาลาง (ปัตตานี,ยะลา) , เก้อฮี (กะเหรี่ยง) , ไป่เหมาเกิน เตียมเซาถึง (จีน)
ชื่อสามัญ : Cogon grass,blady grass ,Thatch Grass.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica (Linn.) Beauv.
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าคา เป็นพวกพืชจำพวกหญ้าที่เป็นพืชล้มลุกที่มีใบสั้นเดี่ยว มีเหง้าใต้ดินเป็นเส้นกลม สีขาวทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวเรียบ โดยจะแตกกิ่งก้านสาขาและงอกขึ้นเป็นกอใหม่และมีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร
    หญ้าคา
  • ใบหญ้าคา ลักษณะของใบออกเป็นกระจุก ตามบริเวณโคนต้น ใบมีรูปหอกเรียวยาว ริมขอบใบคม มีขนเป็นกระจุก ใบมีขนาดยาวประมาณ 100-200 ซม. กว้างประมาณ 1-2.5 ซม.
  • ดอกหญ้าคา ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นพู่ มีลักษณะคล้ายกับหางกระรอกขึ้นอยู่บริเวณกลางกอ ช่อดอกยาวประมาณ 2-10 นิ้ว มีดอกย่อยเรียงสลับกัน รอบ ๆ แกนกลางช่อ ดอกมีเป็นสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง
    หญ้าคา
  • ผลหญ้าคา เป็นผลแห้งสีดำรูปกลมรี ส่วนเมล็ดเป็นรูปกลมเล็กๆ มีสีเหลือง โดยใน 1 ต้น อาจสร้างเมล็ดมากถึง 2000 เมล็ดเลยทีเดียว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ดอก, ราก

สรรพคุณ หญ้าคา :

  • ทั้งลำต้น ใช้ลำต้นสด หรือแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้โรคไต แก้โรคมะเร็งคอ และแก้ฝีประคำร้อย
  • ดอก ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะแดง แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้มะเร็งในลำไส้ แก้ริดสีดวงต่าง ๆ
  • ราก ใช้ปรุงกินเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
    รากหญ้าคา

ส่วนที่เป็นพิษ : ขอบใบคม อาจบาดทำให้เป็นแผล สัมผัสผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน

Scroll to top