แฝกหอม

แฝกหอม

ชื่อสมุนไพร : แฝกหอม
ชื่ออื่นๆ :
แฝก, หญ้าแฝก, แฝกลุ่ม, แกงหอม, แคมหอม, Vetiver
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vetiveria zizanioides (L.) Nash ex Small
ชื่อวงศ์ : POACEAE (GRAMINEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแฝกหอม เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 1 – 1.6 เมตร มีรากฝอยที่หยั่งลึกในดินได้ถึง 4 เมตร รากมีกลิ่นหอม
    แฝกหอม รากแฝกหอม
  • ใบแฝกหอม ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 0.4 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 30 – 75 เซนติเมตร ปลายใบสอบแหลม ผิวด้านล่างเกลี้ยง ขอบใบมีขนสาก
    แฝกหอม
  • ดอกแฝกหอม ออกเป็นช่อที่กลางยอด ยาว 15 – 40 เซนติเมตร ดอกย่อย ด้านล่างฝ่อ ด้านบนสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้ 3 อัน อับเรณูสีส้ม เกสรเพศเมีย ยอดเกสรสีชมพู
  • เมล็ดแฝกหอม สีน้ำตาลอ่อน รูปกระสวยผิวเรียบ หัวท้ายมน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, หัว

สรรพคุณ แฝกหอม :

  • ราก  ทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น กล่อมประสาท
    ใช้ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้หาวเรอ บำรุงโลหิต  แก้ปวดท้อง จุกเสียด  แก้ท้องอืด  ขับปัสสาวะ แก้ไข้  แก้ไข้พิษ  แก้ไข้อภิญญาณ  แก้ไข้อันเกิดแต่ซาง  โลหิต  ดี และคุดทะราด แก้โรคประสาท แก้ท้องเดิน  แก้ร้อน
    ต้มอาบทำให้กระชุ่มกระชวย
    อบเสื้อผ้าให้หอม และสกัดน้ำมันหอมระเหย
  • หัว ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเดิน แก้ร้อน แก้ไข้หวัด แก้ปวดเมื่อย
    น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ทำให้นอนหลับ ทำให้สงบ ทำให้ผิวหนังร้อนแดงอย่างอ่อน
Scroll to top