ชื่อสมุนไพร : โพธิ์
ชื่ออื่นๆ : สลี (ภาคเหนือ), สี สะหลี (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โพ โพธิ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), ย่อง (แม่ฮ่องสอน), ปู (เขมร), โพธิใบ
ชื่อสามัญ : Sacred tree, Sacred fig, Sacred fig Tree, The peepal tree, Peepul tree, Peepul of India, Pipal tree, Pipal of India, Bo tree, Bodhi Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa L.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบโพธิ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
- ดอกโพธิ์ ออกดอกเป็นช่อกลม ๆ รวมกันเป็นกระจุกภายในฐานรองดอกรูปคล้ายผล โดยจะออกที่ตอนปลายของกิ่ง ดอกย่อยเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีก้าน มีใบประดับเล็กที่โคน ฐานดอกเป็นรูปทรงกลม ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองนวล และจะเจริญไปเป็นผล
- ผลโพธิ์ ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, เมล็ด, เปลือกต้น
สรรพคุณ โพธิ์ :
- ใบ รสฝาดมัน แก้โรคผิวหนัง
- ผล รสจืดเฝื่อนเล็กน้อย ช่วยย่อยอาหาร ระบายท้อง
- เมล็ด รสเย็น เป็นยาบำรุงร่างกาย
- เปลือกต้น รสฝาด ต้มเอาน้ำอมแก้ปวดฟัน แก้เหงือกเป็นหนอง ตำพอกแก้อักเสบบวม